วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7

ความเป็นมาของหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ

ศูนย์ข้อมูล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นหน่วยงานเทียบเท่าแผนก สังกัดกองบรรณาธิการ เริ่มก่อตั้งในปี 2506 เรียกว่า” แผนกข่าวภาพ - เอกสาร” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “แผนกประวัติ -ภาพ - ข่าว” ในปี 2518 ก่อนจะจัดตั้งเป็นแผนก “ห้องสมุด” ในปี 2522 และเป็นแผนก “ศูนย์ข้อมูล” ในปี 2530 ศูนย์ข้อมูล มีภาระหน้าที่หลักในการให้บริการแก่พนักงานใน กองบรรณาธิการที่เกี่ยวข้องกับงานข่าว ตลอด 24 ชั่วโมง โดยต้องทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ฟิล์มและภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ รวมทั้งเอกสารข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อใช้ประกอบการเขียนข่าวใน กองบรรณาธิการ ต่อมาต้นปี 2538 บริษัทวัชรพล จำกัด มีนโยบายที่จะปรับปรุงศูนย์ข้อมูลให้มีความทันสมัย และสามารถให้บริการแก่ กองบรรณาธิการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างฐานข้อมูลรองรับการขยายตัว ของบริษัทในอนาคต โดยได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้กับการจัดการข้อมูลประเภทต่างๆ Clipping ข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และหนังสือพิมพ์หลักอื่นๆ ตั้งแต่ ปี 2516 - ปัจจุบัน ฟิล์ม Negative เหตุการณ์ข่าวต่างๆ ตั้งแต่ ปี 2516 - ปัจจุบัน พร้อมทั้งภาพประกอบสารคดีต่าง ๆ รูปภาพข่าวที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐทั้งในรูปแบบของภาพสี ขาวดำ และดิจิตอล ประวัติบุคคลสำคัญ รวมทั้งฐานข้อมูลนามและตำแหน่งที่สำคัญต่างๆ กว่า 2 แสนรายการ Clipping (กฤตภาค) บทความในหนังสือพิมพ์ต่างๆ ที่น่าสนใจ รวมทั้งแฟ้มข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ข้อมูลประเทศ ข้อมูลจังหวัด และข้อมูลพรรคการเมือง วารสาร/นิตยสารรายต่างๆ ซึ่งได้มีการจัดทำดรรชนีของเรื่องราว และปกิณกะที่น่าสนใจเอาไว้อย่างเป็นระบบ หนังสืออ้างอิงประเภทต่างๆ ได้แก่ ราชกิจจานุเบกษา รายงานประจำปีของหน่วยราชการ และบริษัทเอกชนต่างๆ หนังสือทั่วไป แบ่งตามหมวดหมู่เช่นเดียวกับห้องสมุดทั่วไป
ศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เปิดให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 9.00 - 17.00 น.

ที่มา : http://www.thairath.co.th/corp/infocenter

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น