วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 4

นักข่าวหนังสือพิมพ์มติชน มาทำข่าวการผลิตไบโอดีเซล

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน กลุ่มผู้ผลิตไบโอดีเซลชุมชนบ้านเกาะใหญ่ โดยเยาวชนมุสลิมบ้านเกาะใหญ่ ได้ต้อนรับนักข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน ซึ่งได้มาทำข่าวเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านเกาะใหญ่ ซึ่งในวันดังกล่าวได้มีนายวิสิฐ ตั้งปอง นายอำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ได้ให้การต้อนรับคณะนักข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน ซึ่งจากการทำข่าวในครั้งนี้เป็นที่ภาคภูมิใจของชาวบ้านเกาะใหญ่เป็นอย่างมากที่สมารถสร้างผลงานที่มีชื่อเสียงและสามารถเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในชุมชนและผู้ที่สนใจได้ ซึ่งในวันดังกล่าวได้มีการสัมภาษณ์ สุเมธ สาดีน ประธานกลุ่มผู้ผลิตไบโอดีเซลชุมชนบ้านเกาะใหญ่ เยาวชนมุสลิมบ้านเกาะใหญ่ และได้สาธิตการทดลองตั้งแต่เริ่มแรกของการผลิตไบโอดีเซล จนกระทั่งสามารถนำมาเติมเป็นน้ำมันรถยนต์ได้

แหล่งที่มา : http://www.blog.masjidhidayah.com

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 3

ประวัติของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร บทความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงเลยอาจพิจารณาให้ลบ


“ หนังสือพิมพ์เช้า ภาพข่าวสดประจำบ้าน ”


ประเภท หนังสือพิมพ์รายวัน

รูปแบบ หนังสือพิมพ์มวลชน
(Mass Newspaper)

เจ้าของ บริษัท วัชรพล จำกัด

บรรณาธิการ
อำนวยการ ยิ่งลักษณ์ วัชรพล
บริหาร สราวุธ วัชรพล
ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา สุนทร ทาซ้าย
ในอดีต กำพล วัชรพล

บุคคลสำคัญ
คอลัมนิสต์ ซูม ซอกแซก
ชัย ราชวัตร
ลัดดา

ภาษาที่ใช้ ไทย
ก่อตั้งเมื่อ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 (อายุ 47 ปี) (ในชื่อไทยรัฐ)
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 (ในชื่อเสียงอ่างทอง)
9 มกราคม พ.ศ. 2493 (ในชื่อข่าวภาพ)
ฉบับสุดท้าย 24 ธันวาคม พ.ศ. 2505 (ในชื่อเสียงอ่างทอง)
20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (ในชื่อข่าวภาพ)
ราคา 10.00 บาท
ยอดพิมพ์/
ยอดจำหน่าย 1,000,000 ฉบับ

สำนักงาน เลขที่ 1 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
เว็บไซต์ www.thairath.co.th
ไทยรัฐ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดของประเทศ จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2523 ก่อตั้งโดย นายกำพล วัชรพล ปัจจุบันมี บริษัท วัชรพล จำกัด เป็นเจ้าของ, นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล เป็นผู้อำนวยการ และนายสราวุธ วัชรพล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบัน 1,000,000 ฉบับ ราคาจำหน่าย 10.00 บาท

ประวัติ
ข่าวภาพ
เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2493 นายกำพล วัชรพล นายเลิศ อัศเวศน์ และนายวสันต์ ชูสกุล ร่วมกันจดทะเบียนขอออกหนังสือพิมพ์ ข่าวภาพ รายสัปดาห์ จากนั้น ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ผู้ก่อตั้งทั้งสาม ปรับเวลาออกหนังสือพิมพ์ข่าวภาพให้เร็วขึ้น จากรายสัปดาห์ เป็นรายสามวัน ต่อมา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2495 หนังสือพิมพ์ข่าวภาพรายวัน ฉบับปฐมฤกษ์ ออกจำหน่ายแทนที่ ข่าวภาพรายสามวัน มีจำนวนพิมพ์ 3,000 ฉบับ จากนั้น นายกำพล นายเลิศ และนายวสันต์ ได้ขยายกิจการสื่อเพิ่มเติม โดยเปิดนิตยสารข่าวภาพรายเดือน เมื่อปี พ.ศ. 2496 แต่แล้ว ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติ ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 3 สั่งปิดหนังสือพิมพ์หลายฉบับ รวมทั้งข่าวภาพด้วย รวมถึงหลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ ก็เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงพิมพ์ซ้ำเข้ามาอีก[1]

เสียงอ่างทอง
จากวันนั้น นายกำพลก็ใช้ความพยายามอย่างยิ่ง ในการออกหนังสือพิมพ์ใหม่อีกครั้งอยู่โดยตลอด จนกระทั่งสามารถซื้อ หัวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจากจังหวัดอ่างทอง มาออกพิมพ์จำหน่ายในส่วนกลาง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 นายกำพลจึงได้ออกหนังสือพิมพ์ เสียงอ่างทอง รายวัน ด้วยยอดพิมพ์ในครั้งแรก จำนวน 7,000 ฉบับ และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 ยอดจำหน่ายหนังสือพิมพ์เสียงอ่างทอง เพิ่มขึ้นสูงถึง 45,000 ฉบับ นายกำพลจึงสั่งให้ใช้ระบบตีด่วน ที่จัดตั้งฝ่ายจัดจำหน่ายในส่วนภูมิภาคด้วยตนเอง[2]

ไทยรัฐ
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ออกวางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ โดยกองบรรณาธิการชุดเดิมของเสียงอ่างทอง ที่เจ้าของหัวหนังสือพิมพ์คนเดิม มาเรียกคืนกลับไป โดยใช้คำขวัญในยุคแรกว่า หนังสือพิมพ์เช้า ภาพข่าวสดประจำบ้าน มี จำนวนพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวน 16 หน้า ราคาฉบับละ 1.00 บาท ต่อมา ในราวปลายปี พ.ศ. 2508ไทยรัฐเริ่มจัดพิมพ์ฉบับพิเศษในวันอาทิตย์ ให้ชื่อว่า ไทยรัฐสารพัดสี จำนวน 20 หน้า ราคาเท่าเดิม ส่งผลให้ยอดพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 140,000 ฉบับต่อมา ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 เพิ่มจำนวนเป็น 20 หน้าต่อฉบับในทุกวัน ส่งผลให้ยอดพิมพ์เพิ่มขึ้นอีกเป็น 200,000 ฉบับ จากนั้น ในปี พ.ศ. 2515 ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในกองบรรณาธิการไทยรัฐ ต่อมา วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2516ไทยรัฐประกาศปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์อีก 50 สตางค์ (เป็น 1.50 บาท) ในช่วงเหตุการณ์วันมหาวิปโยค ระหว่างวันที่ 14-16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ยอดพิมพ์ไทยรัฐปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะวันที่ 16 เพิ่มสูงขึ้นถึง 1,181,470 ฉบับ
เกิดเหตุลอบยิงสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ด้วยระเบิด เอ็ม-79 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ไทยรัฐได้สร้างปรากฏการณ์สำคัญอีกครั้ง เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2520 ด้วยการเช่าเครื่องบินเหมาลำ จากจังหวัดเชียงใหม่ กลับสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นห้องล้างฟิล์มชั่วคราวกลางอากาศ ที่บันทึกภาพข่าว การชกมวยป้องกันตำแหน่งของแสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ ที่ชนะน็อกมอนโร บรูกส์ ในยกที่ 15 โดยเมื่อถึงกรุงเทพฯ จึงนำภาพลงหนังสือพิมพ์ได้เพียงฉบับเดียว
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่อง Hell ในระบบรับ-ส่งภาพขาวดำระยะไกล (Telephoto Receiver & Facsimile Transmitter) ทั้งนี้ ไทยรัฐยังเพิ่มยอดพิมพ์ในฉบับประจำวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2522 เป็นจำนวน 1,000,742 ฉบับ นอกจากนี้ ไทยรัฐประกาศปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์อีก 50 สตางค์ (เป็น 2.00 บาท) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 และปรับขึ้นอีก 1 บาท (เป็น 3.00 บาท) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2523
น.ส.พ.ไทยรัฐ ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2519 รายงานเหตุการณ์ 6 ตุลา ในหน้า 1จากนั้น ไทยรัฐได้สร้างปรากฏการณ์อีกครั้ง ในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับประจำวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พาดหัวข่าวตัวใหญ่ถึงครึ่งหน้ากระดาษ โดยดำริของนายกำพล ซึ่งเป็นที่ลือลั่นว่า “สั่งปลด...อาทิตย์” ส่งผลให้ยอดจำหน่ายขึ้นสูงไปถึงเลข 7 หลัก ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปกติถึงร้อยละ 30 และไทยรัฐเริ่มพิมพ์ปกเป็นสี่สีฉบับแรก เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2531 โดยตีพิมพ์ภาพข่าว นางสาวภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก รับตำแหน่งนางงามจักรวาลที่ไต้หวัน 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ไทยรัฐประกาศปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์อีก 2 บาท (เป็น 5.00 บาท) และวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่อง Hell ในระบบรับส่งภาพสีระยะไกล ไทยรัฐสร้างปรากฏการณ์พิเศษ ด้วยการจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์ ฉบับประจำวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เป็นพิเศษ จำนวน 108 หน้า เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 40 ปี หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และครบรอบวันเกิด 70 ปี ของนายกำพล ในฐานะผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ระหว่างวันที่ 17-21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ไทยรัฐมียอดพิมพ์อยู่ในระดับ 1,000,000 ฉบับเศษ โดยเฉพาะวันที่ 19 พฤษภาคม เพิ่มสูงขึ้นถึง 1,428,624 ฉบับ เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2537 ไทยรัฐนำเครื่องรับส่งภาพระยะไกล ลีแฟกซ์ (Leafax) จากบริษัท เอพี จำกัด เข้ามาใช้ต่อพ่วง และแสดงภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานได้ทันที รวมทั้งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ศูนย์ข่าวภูมิภาคใน 17จังหวัด ก็ได้นำระบบรับส่งภาพดังกล่าวไปใช้ ในการส่งภาพกลับเข้ามายังสำนักงานส่วนกลางที่กรุงเทพฯ อีกด้วย ต่อมาเพิ่มอีก 9 จังหวัด ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 และเพิ่มอีก 4 จังหวัด ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน รวมทั้งสิ้น 30 จังหวัด
ในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2539 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐเพิ่มเป็น 40 หน้าทุกวัน ตามที่ได้เตรียมการมาเป็นเวลายาวนาน พร้อมประกาศปรับราคาจำหน่ายอีก 3 บาท (เป็น 8.00 บาท) จากนั้นจึงประกาศปรับราคาอีก 2 บาท (เป็น 10.00 บาท) เมื่อปี พ.ศ. 2551 ปัจจุบันมี บริษัท วัชรพล จำกัด เป็นเจ้าของ, นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล เป็นผู้อำนวยการ และนายสราวุธ วัชรพล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ ซึ่งทั้งสองเป็นทายาทของนายกำพล มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบัน 1,000,000 ฉบับ ราคาจำหน่าย 10.00 บาท ในหนึ่งฉบับมีประมาณ 28-40 หน้า

กิจการบริษัท
เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2518 นายกำพลได้ก่อตั้งนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดขึ้นในชื่อ บริษัท วัชรพล จำกัด (อังกฤษ: Vacharaphol Company Limited) เพื่อเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และเป็นผู้บริจาคทุนทรัพย์ในการก่อสร้างโรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั้ง 101 แห่ง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้าวันดังกล่าว ไม่ปรากฏว่าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ดำเนินกิจการในรูปแบบใด
ปัจจุบัน คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล ภริยานายกำพล ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท มีพนักงานทั้งสิ้น 2,007 คน เฉพาะกองบรรณาธิการ 262 คน อาคารทั้งหมด 13 หลัง บนพื้นที่ 39 ไร่ 9 ตารางวา และ 35 ศูนย์ข่าวในส่วนภูมิภาค โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท จากนั้น มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกหลายครั้ง ดังนี้
18 ธันวาคม พ.ศ. 2535 - 500 ล้านบาท
29 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 2,000 ล้านบาท
4 สิงหาคม พ.ศ. 2538 - 3,000 ล้านบาท
13 มกราคม พ.ศ. 2539 - 4,000 ล้านบาท

รายชื่อผู้อำนวยการ และ หัวหน้ากองบรรณาธิการไทยรัฐ
ผู้อำนวยการ
นายกำพล วัชรพล : 25 ธันวาคม 2505-21 กุมภาพันธ์ 2539
คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล (รักษาการ) : 21 กุมภาพันธ์-24 เมษายน 2539
นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล : 25 เมษายน 2539-ปัจจุบัน
หัวหน้ากองบรรณาธิการ
นายกำพล วัชรพล : 25 ธันวาคม 2505-2 กรกฎาคม 2531
นายสราวุธ วัชรพล : 3 กรกฎาคม 2531-ปัจจุบัน

อาคารสถานที่
ในราวกลางปี พ.ศ. 2511 บจก.วัชรพล ได้เริ่มซื้อที่ดินขนาด 11 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา ริมถนนวิภาวดีรังสิตไปพร้อมกันด้วย จากนั้น ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2512 บจก.วัชรพล ดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงาน บนที่ดินดังกล่าว จำนวน 7 หลัง ได้แก่ อาคารอำนวยการ 3 ชั้น, อาคารโรงพิมพ์, อาคารสโมสร 2 ชั้น, อาคารเก็บกระดาษ 1, อาคารพัสดุ 3 ชั้น, อาคารเครื่องปั่นไฟ และ บ้านพักพนักงาน 2 ชั้นโดยในระยะแรก ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2512 กองบรรณาธิการไทยรัฐ ยังคงทำงานอยู่ที่สำนักงานซอยวรพงษ์ แต่ย้ายโรงพิมพ์มาอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิตแล้ว จึงต้องใช้จักรยานยนต์ ลำเลียงแผ่นเพลตที่ทำเสร็จแล้ว จากสำนักงานมายังโรงพิมพ์ จนกระทั่งวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 บจก.วัชรพล จึงย้ายสำนักงานจากซอยวรพงษ์ มาอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต อย่างสมบูรณ์แบบ
จากนั้น เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2516 บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินส่วนหลัง ติดถนนร่วมศิริมิตร บริเวณข้างที่ทำการสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เพิ่มเติมอีก 11 ไร่ 3 งาน 66 ตารางวา พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารเก็บกระดาษ 2 และโรงซ่อมบำรุงรถขนส่ง เพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง ต่อมา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินส่วนหน้า ติดถนนวิภาวดีรังสิต เพิ่มอีก 3ไร่ 1 งาน 22 ตารางวา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 บจก.วัชรพล สร้างอาคารเพิ่มขึ้นอีก 3 หลัง คือ อาคารโรงพิมพ์และสำนักงาน 9 ชั้น, อาคารเก็บกระดาษ 3 และจอดรถ 5 ชั้น และอาคารโรงซ่อมบำรุงรถขนส่ง 2 ชั้น และเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2532 บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินส่วนหลัง ลึกเข้าไปถึงริมถนนพหลโยธิน เพิ่มอีก 4 ไร่ 2 งาน 26 ตารางวา และวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินบริเวณเดียวกัน เพิ่มอีก 5 ไร่ 3 งาน 47 ตารางวา นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินส่วนหน้า ติดถนนวิภาวดีรังสิต เพิ่มอีก 1 ไร่ 3 งาน 9 ตารางวา เพื่อสร้างอาคารบริการธุรกิจโฆษณา 13 ชั้น 1 เมษายน พ.ศ. 2537 บจก.วัชรพล ก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้นอีก 3 หลัง คือ อาคารโรงพิมพ์ 9 ชั้น, อาคารเก็บกระดาษ 4 จำนวน 3 ชั้น และอาคารเก็บกระดาษ 5 จำนวน 4 ชั้น (โดยรื้อบ้านพักพนักงานออกทั้งหมด และรื้ออาคารพัสดุออกบางส่วน) ปัจจุบัน บริษัท วัชรพล จำกัด มีบริเวณที่ดินทั้งหมด 39 ไร่ 9 ตารางวา หรือ 15,609 ตารางวา และมีอาคารทั้งหมด 13 หลัง

ระบบการพิมพ์
ในยุคข่าวภาพ และเสียงอ่างทอง การพิมพ์หนังสือ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการจ้างทั้งสิ้น จนกระทั่งเริ่มใช้ชื่อไทยรัฐ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 จึงเริ่มใช้เครื่องพิมพ์ระบบ เลตเตอร์ เพรสส์ (Letter Press - ฉับแกระ) ตรา ชิกาวา โอพีไอ (Chikawa OPI) และเรียงพิมพ์ด้วยตัวเรียงตะกั่ว แม่พิมพ์พื้นนูน
ต่อมา เมื่อราวปลายปี พ.ศ. 2508 ไทยรัฐเปลี่ยนไปใช้เครื่องพิมพ์ระบบ โรตารี (Rotary) พิมพ์บนกระดาษม้วน ด้วยแม่พิมพ์พื้นนูน ที่หลอมจากตะกั่ว จากนั้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2512 ไทยรัฐติดตั้งเครื่องพิมพ์ระบบ เว็บ ออฟเซ็ต (Web Offset) ตรา ฮามาดา เอโออาร์ (Hamada AOR) จำนวน 2 เครื่อง หมายเลข 175 และ 177 จากประเทศญี่ปุ่น พิมพ์ได้ฉบับละ 16 หน้า (สี่สี 2 หน้า) สามารถพิมพ์ได้ 18,000 ฉบับต่อชั่วโมง
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่องพิมพ์ระบบ ออฟเซ็ต (Offset) ตรา ฮามาดา เอ็นโออาร์ (Hamada NOR) จำนวน 1 เครื่อง หมายเลข 192 พิมพ์ได้ฉบับละ 16 หน้า (สี่สี 2 หน้า) กำลังการผลิต 30,000 ฉบับต่อชั่วโมง และเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2519 ไทยรัฐเปลี่ยนระบบการพิมพ์ จากการเรียงตัวตะกั่ว เป็นระบบเรียงพิมพ์ด้วยแสง โดยร่วมกับ บริษัท คอมพิวกราฟิก จำกัด พัฒนาเครื่องเรียงพิมพ์ ยูนิเวอร์แซล 4 (Universal 4) ซึ่งทำงานกับภาษาอังกฤษ ให้ใช้งานเป็นภาษาไทยได้สำเร็จ
จากนั้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2522 ไทยรัฐเปลี่ยนไปใช้เครื่องพิมพ์ตรา แมน โรแลนด์ ยูนิแมน 2/2 (Man Roland Uniman 2/2) จำนวน 2 เครื่อง หมายเลข 108 และ 113 จากประเทศเยอรมนี พิมพ์ได้ฉบับละ 20 หน้า (สี่สี 4 หน้า) สามารถพิมพ์ได้ 40,000 ฉบับต่อชั่วโมง พร้อมทั้งเลิกใช้เครื่องพิมพ์ตรา ฮามาดา รุ่น เอโออาร์ ทั้งหมด ต่อมา ไทยรัฐติดตั้งเครื่องพิมพ์รุ่นเดียวกัน เพิ่มอีกคราวละ 1 เครื่อง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 (หมายเลขเครื่อง 004) และวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2525 (หมายเลขเครื่อง 037)
ไทยรัฐได้นำเครื่องแยกสี ครอสฟิลด์ (Crosfield) เข้ามาใช้ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และเพิ่มอุปกรณ์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ต่อมา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่องพิมพ์ตรา แมน โรแลนด์ ยูนิแมน 4/2 จำนวน 2 เครื่อง หมายเลข 137 และ 138 พิมพ์ได้ฉบับละ 32 หน้า (สี่สี 4 หน้า) สามารถพิมพ์ได้ 40,000 ฉบับต่อชั่วโมง พร้อมทั้งเลิกใช้เครื่องพิมพ์ ฮามาดา เอ็นโออาร์ 1 เครื่อง
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 ไทยรัฐได้นำระบบเรียงพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ตรา เอเท็กซ์ (Atex) เข้ามาใช้ในการเรียงพิมพ์ รวมถึงเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534 จึงได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ตราเดียวกัน ในการจัดหน้าข่าวด้วย เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2536 ไทยรัฐจัดพิมพ์หน้าสีเพิ่มขึ้น จึงได้นำระบบแยกสีประกอบหน้า ไซน์เทค (Scitex - Color Separation and Pagination System) มาใช้ประกอบโฆษณาสี และหน้าข่าวสี่สี และเพิ่มอุปกรณ์แยกสีดังกล่าว เพื่อประกอบหน้าข่าวสี่สีเพิ่ม เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 และเพื่อรองรับงานพิมพ์ 40 หน้า เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2538 พร้อมกันนั้น ไทยรัฐได้เพิ่มระบบเรียงพิมพ์และประกอบหน้า (Editorial System) ด้วยระบบ พี.อิงค์ (P.Ink)
ต่อมา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ไทยรัฐสร้างความฮือฮาในวงการพิมพ์ ด้วยการติดตั้งเครื่องพิมพ์ตรา แมน โรแลนด์ จีโอแมน (Man Roland Geoman) จากเยอรมนี จำนวน 6 เครื่อง หมายเลข 006, 007, 008, 009, 010 และ 011 มูลค่ามหาศาลถึง 2,000 ล้านบาท สามารถพิมพ์ได้ฉบับละ 48 หน้า (สี่สี 24 หน้า) สามารถพิมพ์ได้ 40,000 ฉบับต่อชั่วโมง และในวันเกิดของกำพลปีนั้นเอง ที่ตัวเขาเป็นผู้กดปุ่มเดินเครื่องพิมพ์เหล่านี้ด้วยตนเอง
ปัจจุบัน ไทยรัฐใช้เครื่องพิมพ์ตรา แมน โรแลนด์ รุ่น จีโอแมน จากประเทศเยอรมนี ซึ่งมีกำลังในการผลิตชั่วโมงละ 360,000 ฉบับ โดยใช้พิมพ์ฉบับละ 40 หน้า (สี่สี 20 หน้า) ซึ่งในแต่ละวัน ใช้กระดาษทั้งหมด 230 ม้วน คิดเป็นน้ำหนัก 225 ตัน และใช้หมึกสีดำ 1,200 กิโลกรัม, สีแดง 445 กิโลกรัม, สีฟ้า 430 กิโลกรัม, สีเหลือง 630 กิโลกรัม โดยทางบริษัทฯ มักจะนำผู้เข้าเยี่ยมชมกิจการ เข้าชมการผลิตหนังสือพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ดังกล่าว จนกระทั่ง อุดม แต้พานิช ได้กล่าวถึงการเข้าชมกิจการของ บจก.วัชรพล และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในการแสดงเดี่ยวไมโครโฟนของเขาว่า เป็นการ “เยี่ยมแท่นพิมพ์”

คอลัมน์
ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน

ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน เป็นผลงานการ์ตูน ของ ชัย ราชวัตร ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยเนื้อหาเป็นแนวการเมืองและล้อเลียนข่าวประจำวัน ตีพิมพ์ครั้งแรก ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 [3][4] โดยมีตัวละครที่สำคัญคือ
ผู้ใหญ่มา - ผู้ใหญ่บ้านรูปร่างท้วม มีผ้าขาวม้าคาดพุง
ไอ้จ่อย - ลูกบ้านตัวผอม นุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียว ใส่แว่นตาดำ ถือถุงกระดาษ
ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ได้รับการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2523 กำกับโดย สมชาติ รอบกิจ บทภาพยนตร์โดย หยอย บางขุนพรหม (ศรีศักดิ์ นพรัตน์) โดยมี ล้อต๊อก รับบท ผู้ใหญ่มา และ นพดล ดวงพร ในบทบาท ไอ้จ่อย

เปิดฟ้าส่องโลก
เป็นคอลัมน์หน้าต่างประเทศของนิติภูมิ นวรัตน์ เป็นคอลัมน์แรกๆของเมืองไทยที่จุดประเด็นการต่อต้านนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและชี้ให้เห็นด้านดีของประเทศมุสลิม และจากคอลัมน์ที่เขียนเกี่ยวกับอาร์เจนติน่า ได้จุดกระแสการต่อต้านห้างค้าปลีกต่างชาติและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคยใช้คอลัมน์นี้หยิบมาอ่านเพื่่อโจมตีรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรด้วย คอลัมน์ที่มีชื่อเสียงที่สุึด คือ จุดจบประเทศไทย2553 ที่เป็นหนี่งสิบฟอร์เวิรด์เมล์ที่ถูกส่งต่อมากที่สุดของประเทศไทย

แหล่งที่มา: http://th.wikipedia.org

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1

เชิญร่วมประกวดวิทยานิพนธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการสื่อสารมวลชน
ประจำปี ๒๕๕๓ ด้วยมูลนิธิไทยรัฐ มอบรางวัลแก่ผู้มีผลงานในการทำวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๕๓ ด้านวารสารศาสตร์, สื่อสารมวลชน และนิเทศศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่ได้ศึกษาวิจัย อันเป็นประโยชน์แก่วงการสื่อสารมวลชน เช่น การผลิต การตลาด การโฆษณา เทคโนโลยีการพิมพ์ และ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายกำพลวัชรพล อดีตผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ตามหลักเกณฑ์ในประกาศรางวัล “กำพล วัชรพล”
วิทยานิพนธ์ที่จะส่งเข้าประกวดได้ จะต้องเป็นวิทยานิพนธ์ที่ได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๒ ถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ ผู้สนใจสามารถส่งผลงานวิทยานิพนธ์เข้าประกวดได้ที่ มูลนิธิไทยรัฐ ระหว่างวันที่ ๑ สิงหาคม-๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ วิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตัดสินให้เป็นวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยม จะได้รับรางวัลเงินสด ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน) พร้อมด้วยโล่และประกาศเกียรติคุณ

สอบถามรายละเอียดและขอใบสมัคร

สำนักงานมูลนิธิไทยรัฐ อาคาร ๑๒ (ตึกโฆษณา) ชั้น ๔ เลขที่ ๑ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๗๒-๑๐๓๐ ต่อ ๑๑๘๖-๑๑๘๗ หรือ ๐-๒๑๒๗-๑๐๖๔ โทรสาร ๐-๒๒๗๒-๑๗๕๔ ได้ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์ หรือ http://www.thairath.co.th

ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
แหล่งที่มา http://www.thairath-found.or.th/news/708/

หัวข้อข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2

ชมหนังแอนิเมชั่น “รามเกียรติ์” ในโครงการ “๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์”
ข่าวประจำนที่ 20 กรกฎาคม 2553

จัดฉายภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง “รามเกียรติ์” ในโครงการ “๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพ ระหว่าง 9-15 ส.ค.นี้ ในโรงภาพยนตร์เครือเอสเอฟทั่วประเทศ...
"มูลนิธิ ดินดี น้ำใส เทิดไท้องค์ราชัน" ร่วมกับ "กระทรวงการคลัง" พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมจัดฉายภาพยนตร์แอนิเมชั่น เรื่อง “รามเกียรติ์” จากจิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในโครงการ “๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพ ในฐานะที่ทรงเป็นคู่พระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และทรงเป็นแม่ของแผ่นดินมาตลอด 60 ปี ตลอดจนเพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบ 19 รอบนักษัตร หรือ 228 ปีแห่งราชวงศ์จักรีในปีนี้ โดยการจัดฉายภาพยนตร์ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย ระหว่างวันที่ 9-15 สิงหาคมศกนี้ ในโรงภาพยนตร์เครือเอสเอฟทั่วประเทศ สำหรับการจัดโครงการเฉลิมพระเกียรติ “๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์” โดย ม.ร.ว. สมลาภ กิติยากร ประธานโครงการฯ ดร.มั่น พัธโนทัย รมช.คลัง ผู้สนับสนุนโครงการฯ นายพูลผล อัศวเหม ผู้อำนวยการโครงการฯ นายธนวัฒน์ วันสม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บจม.อสมท. ผู้สนับสนุนโครงการฯ

แหล่งที่มา http://www.thairath.co.th/content/edu/97311

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ไปรษณีย์ไทยก้าวไกลสู่อีเบย์

ไปรษณีย์ไทยก้าวไกลสู่อีเบย์
ไปรษณีย์ไทยก้าวหน้าจับมืออีเบย์เช็กสถานะสินค้าออนไลน์
อีเบย์ร่วมมือ ปณท. ให้เช็กสถานะจัดส่งสินค้าผ่านระบบ Track & Trace จากอินเทอร์เน็ต ตั้งเป้าสิ้นปี 53 ดันมูลค่าซื้อขายผ่านมือถือทะลุ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ...นายมาร์ค คาร์เจส ประธานด้านเทคโนโลยีและรองประธานอาวุโส กลุ่มธุรกิจโกรบอล โพรดัคส์ อีเบย์ มาร์เก็ตเพลส เปิดเผยว่า ปัจจุบัน โทรศัพท์เคลื่อนที่กลายเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกประเภทหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าได้ทุกที่ อีเบย์จึงสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมซื้อขายสินค้าผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ให้มีความสะดวกง่ายดายและคล่องตัวยิ่งขึ้น ด้วยแอพพลิเคชัน RedLaser เพื่อช่วยให้นักช็อปสามารถค้นหาสินค้าได้อย่างรวดเร็วผ่านระบบออนไลน์ ขณะเดียวกัน ยังช่วยให้ผู้ขายบนอีเบย์สามารถประกาศขายสินค้าได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย นอกจากนี้ อีเบย์ยังเตรียมนำโปรแกรมสแกนบาร์โค้ด RedLaser ผนวกกับแอพพลิเคชันอื่นๆ ของอีเบย์บนไอโฟน อาทิ แอพพลิเคชันอีเบย์ มาร์เก็ตเพลส (eBay Marketplace) อีเบย์ เซลลิ่ง (eBay Selling) สตับฮับ (StubHub) และช็อปปิ้งดอทคอม (Shopping.com) เพื่อทำให้ผู้ใช้กว่า 10 ล้านคนสามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังทำให้การขายและการเปรียบเทียบสินค้าเป็นไปอย่างสะดวกและง่ายดาย นอกจากนี้ แอพพลิเคชันอีเบย์ เซลลิ่ง ยังเป็นแอพพลิเคชันชนิดแรกบนไอโฟนที่ใช้เทคโนโลยีสแกนบาร์โค้ด RedLaser เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการขายสินค้าออนไลน์ โดยขณะนี้ อีเบย์อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนแอพพลิเคชัน RedLaser จากการเป็นโปรแกรมที่มีค่าใช้จ่ายเป็นโปรแกรมอิสระเปิดให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด ฟรี และเตรียมผนวกรวมโปรแกรมดังกล่าวกับสินค้าที่ประกาศขายบนอีเบย์กว่า 200 ล้านรายการ สินค้าคงคลังจากผู้ค้าทั่วโลกบน Shopping.com กว่า 7,000 ราย และนักขายปลีกออนไลน์ 95 ราย จากทำเนียบนักขายปลีกออนไลน์ดีเด่น 100 อันดับแรก เพื่อเพิ่มทางเลือกในการซื้อสินค้าแก่ผู้บริโภค มีการคาด การณ์ว่า การสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อรองรับการทำธุรกิจผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของอี เบย์จะก่อให้เกิดมูลค่าการซื้อขายสินค้ารวม (GMV) ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่รวม 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯภายในปีนี้ จากความนิยมของลูกค้าอีเบย์และผู้ใช้ไอโฟน แบล็กเบอร์รี่ และแอนดรอยด์ มากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก เปิดให้บริการใน 8 ภาษา จึงมียอดการซื้อขายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้แอพพลิเคชันของอีเบย์ทุก 2 วินาที โดยเทคโนโลยี RedLaser สามารถใช้ได้กับแอพพลิเคชันหลากหลายประเภท ได้แก่ ระบบแสดงรายการช้อปปิ้งสินค้าอุปโภคบริโภค ระบบลงทะเบียนของขวัญ และระบบติดตามข้อมูลทางโภชนาการ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดโปรแกรม RedLaser บนไอโฟนได้ฟรี ที่ itunes.apple.com/us/app/redlaser/id312720263?mt=8
ทั้งนี้ อีเบย์ยังประกาศความร่วมมือกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ผู้นำบริการลอจิสติกส์ครบวงจรในประเทศไทย สนับสนุนผู้ค้าขายผ่านตลาดออนไลน์ ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่างประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านระบบติดตามและตรวจสอบสิ่งของฝากส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนระหว่างประเทศ ของไปรษณีย์ไทย ทำให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะการส่งสินค้าออกนอกประเทศได้ภายใน 2-3 วัน ผ่านระบบ Track & Trace ของไปรษณีย์ ผ่าน www.thailandpost.com/track_register นอกจากนี้ นักขายมือทองอีเบย์ (PowerSellers) ในประเทศไทย ที่สามารถทำรายได้มกกว่า 3,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 97,200 บาทต่อเดือน จะได้รับส่วนลดและสิทธิพิเศษต่างๆ เมื่อเข้าร่วมโครงการ โดยผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ebay.com/sellerinformation/PowerSeller/requirements.html
นาง สาวอานุสรา จิตต์มิตรภาพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานตลาดและพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ปณท. มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับอีเบย์ในการเสนอโปรโมชันพิเศษแก่นัก ขายบนอีเบย์ และด้วยการปรับปรุงระบบติดตามและตรวจสอบสิ่งของฝากส่งทางไปรษณีย์ระหว่าง ประเทศลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ทำให้ผู้ค้าบนอีเบย์สามารถให้ข้อมูลสถานะสิ่งของฝากส่งทางไปรษณีย์แก่ผู้ ซื้อได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ การปรับปรุงระบบ Track & Trace สำหรับบริการไปรษณีย์ลงทะเบียนระหว่างประเทศในปัจจุบัน ถือเป็นก้าวแรกภายใต้ปณิธานของ ปณท. ที่มุ่งสนับสนุนระบบอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ บริการดังกล่าวจะสามารถพัฒนาให้สามารถติดตามและตรวจสอบแบบ End-to-End ได้เต็มรูปแบบ ด้านนางสาวอัลลิส กิม ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจของอีเบย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่น กล่าวว่า นักขายบนอีเบย์จำเป็นต้องแจ้งผู้ซื้อในต่างประเทศให้ทราบถึงสถานะการจัดส่ง สินค้าโดยเร็วที่สุดทันทีที่สินค้าได้รับการจัดส่งออก ที่ผ่านมา ถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักขายบางราย แต่ด้วยระบบการติดตามที่ปรับปรุงใหม่ เชื่อว่า จะสามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้ค้าบนอีเบย์เข้าถึงข้อมูลสถานะการส่งสินค้า อย่างรวดเร็ว ทั้งยังเป็นหลักฐานการส่งสินค้าและช่วยลดข้อพิพาทเกี่ยวกับสินค้าที่ยังไม่ ถึงผู้รับปลายทางอีกด้วย
ทั้งนี้ นักขายมือทองอีเบย์ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าว สามารถลงทะเบียนด้วยรหัสอีเบย์ (eBay ID) ได้ที่ export.ebay.co.th/thailandpost/index.html และพิมพ์บัตรส่วนลดภายในวันที่ 15 ก.ค.2553 เพื่อยื่นแสดง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ที่ร่วมรายการ ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. ถึง 15 ต.ค.2553

แหล่งที่มา http://www.mediafire.com/?2duohufybyt