วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 10

ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์

NEWSCenter เป็นบริการข่าวสารข้อมูลออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีเนื้อหา
หลากหลายจากแหล่งข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ สามารถสืบค้นข้อมูลทั้งภาษาไทยและ
ภาษาอังกฤษ ย้อนหลังได้กว่า 10 ปี รวมถึงมีระบบเตือนอัตโนมัติเมื่อมีข้อมูลล่าสุดที่อยู่ใน
ความสนใจเข้าสู่ฐานข้อมูล โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆดังนี้
- หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
- สำนักข่าวต่างประเทศ
- สำนักข่าวภายในประเทศ
- หน่วยงานราชการ และองค์กรกำกับดูแล
- ศูนย์วิจัย
- บริษัทตัวแทนโฆษณาประชาสัมพันธ์


แหล่งที่มา : http://servnet.pnru.ac.th/offi/PRULib/newscenter.php

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9

ศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์ไทยรัฐรับสมัคร “เจ้าหน้าที่จัดทำภาษา HTML”
ศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์ไทยรัฐรับสมัคร “เจ้าหน้าที่จัดทำภาษา HTML” [31 ม.ค. 51] [30 ธ.ค. 50 - 15:27]

ศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์ไทยรัฐรับสมัครเจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูล

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่จัดทำภาษา HTML (เว็บไซต์)
- วุฒิปวส. คอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- อายุไม่เกิน 25 ปี
- มีพื้นฐานความรู้ภาษา HTML
- พิมพ์ดีดภาษาไทย-อังกฤษ อย่างน้อย 30 คำ/นาที
- สามารถทำงานเป็นกะได้

ผู้สนใจตำแหน่งงานดังกล่าว ให้สมัครด้วยตนเอง
พร้อมเอกสารครบชุดที่ แผนกบุคคล นสพ.ไทยรัฐ
เลขที่ 1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร.0-2272-1030 ต่อ 1446
ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 มกราคม 2551
ระหว่างเวลา 08.30 - 16.00 น.


ที่มา : http://dekmor.cmu.ac.th/show_board.php?cate_id=26&ID=6643&show=yes

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 8

ศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์ไทยรัฐรับสมัคร “ผู้สื่อข่าวไอทีและเจ้าหน้าที่จัดทำภาษาHTML

ศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์ไทยรัฐรับสมัคร “ผู้สื่อข่าวไอทีและเจ้าหน้าที่จัดทำภาษาHTML”
ศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์ไทยรัฐรับสมัครเจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูล
ผู้สื่อข่าวไอที (เว็บไซต์)
- เพศชาย-หญิง อายุไม่เกิน 25 ปี
- ปริญญาตรีด้านนิเทศศาสตร์/สารนิเทศศาสตร์
- มีความรู้ด้านไอที และใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ
- ความรู้ภาษาอังกฤษดี
เจ้าหน้าที่จัดทำภาษา HTML (เว็บไซต์)
- วุฒิ ปวส. คอมพิวเตอร์ธุรกิจหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- อายุไม่เกิน 25 ปี
- มีพื้นฐานความรู้ภาษา HTML
- พิมพ์ดีดภาษาไทย-อังกฤษอย่างน้อย 30 คำ/นาที
- สามารถทำงานเป็นกะได้
ผู้ที่สนใจตำแหน่งงานดังกล่าว ให้สมัครด้วยตนเอง
พร้อมเอกสารครบชุดที่ แผนกบุคคล นสพ.ไทยรัฐ
เลขที่ 1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร
กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0-2272-1030 ต่อ 1446
ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2550
ระหว่างเวลา 8.30 - 16.00 น

ที่มา : http://www.whitemedia.org/wma/content/view/1317/10/

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7

ความเป็นมาของหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ

ศูนย์ข้อมูล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นหน่วยงานเทียบเท่าแผนก สังกัดกองบรรณาธิการ เริ่มก่อตั้งในปี 2506 เรียกว่า” แผนกข่าวภาพ - เอกสาร” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “แผนกประวัติ -ภาพ - ข่าว” ในปี 2518 ก่อนจะจัดตั้งเป็นแผนก “ห้องสมุด” ในปี 2522 และเป็นแผนก “ศูนย์ข้อมูล” ในปี 2530 ศูนย์ข้อมูล มีภาระหน้าที่หลักในการให้บริการแก่พนักงานใน กองบรรณาธิการที่เกี่ยวข้องกับงานข่าว ตลอด 24 ชั่วโมง โดยต้องทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ฟิล์มและภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ รวมทั้งเอกสารข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อใช้ประกอบการเขียนข่าวใน กองบรรณาธิการ ต่อมาต้นปี 2538 บริษัทวัชรพล จำกัด มีนโยบายที่จะปรับปรุงศูนย์ข้อมูลให้มีความทันสมัย และสามารถให้บริการแก่ กองบรรณาธิการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างฐานข้อมูลรองรับการขยายตัว ของบริษัทในอนาคต โดยได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้กับการจัดการข้อมูลประเภทต่างๆ Clipping ข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และหนังสือพิมพ์หลักอื่นๆ ตั้งแต่ ปี 2516 - ปัจจุบัน ฟิล์ม Negative เหตุการณ์ข่าวต่างๆ ตั้งแต่ ปี 2516 - ปัจจุบัน พร้อมทั้งภาพประกอบสารคดีต่าง ๆ รูปภาพข่าวที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐทั้งในรูปแบบของภาพสี ขาวดำ และดิจิตอล ประวัติบุคคลสำคัญ รวมทั้งฐานข้อมูลนามและตำแหน่งที่สำคัญต่างๆ กว่า 2 แสนรายการ Clipping (กฤตภาค) บทความในหนังสือพิมพ์ต่างๆ ที่น่าสนใจ รวมทั้งแฟ้มข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ข้อมูลประเทศ ข้อมูลจังหวัด และข้อมูลพรรคการเมือง วารสาร/นิตยสารรายต่างๆ ซึ่งได้มีการจัดทำดรรชนีของเรื่องราว และปกิณกะที่น่าสนใจเอาไว้อย่างเป็นระบบ หนังสืออ้างอิงประเภทต่างๆ ได้แก่ ราชกิจจานุเบกษา รายงานประจำปีของหน่วยราชการ และบริษัทเอกชนต่างๆ หนังสือทั่วไป แบ่งตามหมวดหมู่เช่นเดียวกับห้องสมุดทั่วไป
ศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เปิดให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 9.00 - 17.00 น.

ที่มา : http://www.thairath.co.th/corp/infocenter

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ส่งงาน E-books

คู่มือการใช้งาน ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Us

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ตามตัวเลือก ท่านเพียงระบุ E-Mail ของผู้รับ ... นอกจากนี้ ยังมีปุ่มลูกษรที่ใช้ส าหรับการเลื่อนไปยังไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับ ...
manual.pdf - book search คู่มือการใช้งาน ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา

My eBay Secrets

My rule for eBay success is to always seek out a 30:1 or higher return ratio between the .... The fundamental secret insider rule to a successful eBay ...
myebays.pdf - book search ebay secrets

ที่มา

eBay CAN

The eBay CAN! Matching Gift Program represents an important part of our corporate giving and is one of the ways that eBay Inc., in ...
eBay.pdf - book search ebay

ที่มา

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 6

หนังสือพิมพ์ ตายแล้ว !!! เจาะลึก "แหล่งข่าว"exclusive

นักวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง ทำนายว่า หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร กำลังจะตาย อีกไม่เกิน 10 ปี เพราะคนเลิกอ่านสื่อกระดาษ อะไรทำให้ อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ ใกล้อัศดง ต้องอ่าน บทสัมภาษณ์ลึกๆ ตรงๆ ของคนทำสื่อและคนเสพสื่อที่มีต่อกระดาษเปื้อนหมึก
ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์ เปิดงานวิจัย จินตนาการปฎิรูปสื่อ 2010-2020 : สื่อสิ่งพิมพ์เชิงวารสาร ของ อาจารย์พรรษาสิริ กุหลาบ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ใหาวิทยาลัย จุดที่น่าสนใจของงานวิจัยส่วนหนึ่งคือ บทสัมภาษณ์และบทสนทนา ในหัวข้อปัญหาและความท้าทายของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยผู้ให้ข้อมูล ที่เป็นทั้งคนทำสื่อ และคนในวงการ
ต่อไปนี้คือ บทสัมภาษณ์ ที่ทำนายอนาคตของสื่อสิ่งพิมพ์ในอีก 10 ปีข้างหน้าได้อย่างดีที่สุด
สำหรับคนทำสื่อ อาจเจ็บปวด แต่นี่คือ ความจริง ทีไม่อาจปฎิเสธ ....

"เราหยิบหนังสือพิมพ์มาฉบับเดียว มันแทบเท่ากับว่าอ่านทุกฉบับแล้วล่ะ"
"แต่เรื่องเลวร้ายที่ทำให้คนไม่ค่อยซื้อหนังสือพิมพ์นอกเหนือจากอุดมการณ์ทางการเมืองกับเศรษฐกิจ ก็คือการทำหน้าที่ของหนังสือพิมพ์ที่ข่าวไม่ว่าจะฉบับไหน เนื้อหาข่าวมันก็เหมือน ๆ กันหมด... ไม่มีอะไรแหวกแนวเลย ข้อนี้แหละทำให้คนอ่านรู้สึกว่าหนังสือพิมพ์ตกต่ำลง เพราะว่ามันไม่มีความลึกเหมือนแต่ก่อน ไม่ได้มีความแตกต่าง จนกระทั่งเราจะซื้อได้หลาย ๆ ฉบับ ทุกวันนี้เราอาจจะตัดสินใจซื้อหนังสือพิมพ์ฉบับที่ถูกที่สุด หรือเนื้อหาเยอะที่สุดเพื่อให้มันคุ้มตังค์"
......บล็อกเกอร์
"สมัยนั้นเราจะได้ยินคนมาพูดปาดหูกันว่า เดี๋ยวไปเจอกันบนแผง คือมันเป็นการเยาะเย้ยกันว่า ได้ข่าวซีฟ (exclusive = ข่าวเดี่ยว, ผู้วิจัย) มาแล้ว แต่เดี๋ยวนี้มันไม่มี เมื่อก่อนเราจะต้องไปหยิบฉบับนึงมาเพื่อดูว่า ของเพื่อนมีอะไรแล้ววันนี้เราไม่มีอะไร ฉะนั้น คุณไม่สามารถอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวได้ คุณต้องอ่านหนังสือพิมพ์หลาย ๆ ฉบับเพื่อดูว่ามันมีเรื่องอะไร แต่ว่าขณะนี้ เราหยิบหนังสือพิมพ์มาฉบับเดียว มันแทบเท่ากับว่าอ่านทุกฉบับแล้วล่ะ มันไม่มีความต่างจากนี้หรอก"
......นักรณรงค์ด้านสิทธิผู้บริโภค
"ลักษณะของสื่อหนังสือพิมพ์เนี่ย คือจะเล่นเรื่องอะไรที่เป็นกระแส ไม่อ่านมันสัก 10 วัน มันก็ไม่ตกข่าว... บางครั้งการอ่านหนังสือพิมพ์คือการกวาดสายตาบนแผงหนังสือพิมพ์ เสร็จแล้วก็คงไปติดตาม คือติดตามในรูปแบบที่ตนเองสนใจเฉพาะเรื่องนั้น แต่ว่าไอ้ประเภทภักดีต่อเล่มนั้น ๆ ประเภทอ่านแล้วเชื่อถือในข้อมูลเนี่ย พี่ว่ามันหมด มันหมดจริง ๆ"
.......บรรณาธิการนิตยสาร
"มันกลายเป็น template น่ะให้นักข่าวสายอื่น ๆ ทำตามด้วย เช่น นักข่าวการเมืองเนี่ย มันก็ต้องหาเรื่องเชิงบันเทิงมาลง เช่น คนทะเลาะกัน... คือวิธีการมันกลายเป็นบันเทิง...
...หนึ่งมันก็ต้องโทษคุณภาพของนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ด้วยล่ะ แต่สองก็คือว่า มันสะท้อนเหมือนกันนะว่า การที่คุณภาพของคนทำหนังสือพิมพ์มันตกต่ำลง ของนักข่าวต่ำลง มันสะท้อนว่าคุณภาพของสังคมไทยมันตกต่ำด้วยเหมือนกัน เพราะมันดันชอบข่าวแบบนี้"
.......บรรณาธิการนิตยสาร
"แล้วคุณก็ไม่สามารถทำข่าวที่ฉีกออก เพราะคุณทำข่าวที่เป็นกลุ่ม เป็นสายสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพราะว่าออฟฟิศต้องการข่าวเร็ว ออฟฟิศก็เน้นข่าวปรากฏการณ์ ความเร็ว ขายข่าว บีบนักข่าว เอามาเร็ว ๆ เด็กก็ คือไม่ได้คิดอะไรเพราะแต่ละวันก็เหนื่อยอยู่แล้ว เจอออฟฟิศสั่งการอยู่ ก็เลยไม่ได้อะไรเกิดขึ้น ก็เลยเป็นแค่ผู้ส่งข่าว ไม่ใช่ผู้สื่อข่าว"
........ผู้สื่อข่าวรุ่นกลาง
"หน้าที่ในการให้รายละเอียด ให้ความรอบด้าน ให้แง่มุมต่าง ๆ ในข่าว ๆ หนึ่งที่วิทยุทีวีขาดไป เพราะฉะนั้นหน้าที่นี้เนี่ย ถ้าหนังสือพิมพ์ขาดหน้าที่นี้ไป ความโดดเด่นก็จะไม่มี แถมยังช้าอีก...
...ค่ำ ๆ เราก็ไปคุยกับแหล่งข่าว บางทีข่าวที่ได้ก็มาจากวงข้าว ตีสามตีสี่กลับบ้าน ไม่ต้องตื่นเช้ามาก เที่ยงไปทำงาน มันก็วนอยู่อย่างนี้ คือมันมีเวลาได้ประมวลข้อมูล ได้ไปถาม ได้ไปซอกแซกที่เขาไม่ได้แถลง แต่เดี๋ยวนี้มันต้อง real time ...เพราะว่ามันต้องเข้าไปสู่อุตสาหกรรมการส่งข่าวแบบทุกทาง"
.........ผู้สื่อข่าวรุ่นกลาง
"ตอนนี้เขาติด trap นะ เขาถูกดักอยู่กับข่าวเฉพาะหน้า real time จะใช้คำว่าอะไรก็ตาม แต่เขาไม่สามารถที่จะย่อยสิ่งที่เขาได้มา เขาไม่สามารถจะต่อยอด เขาไม่มีเวลา มันเหนื่อยเกินไปกว่าที่จะมาวิเคราะห์หรือแลกเปลี่ยนกับคนอื่น ๆ ...แต่เราบางครั้งละเลยปัญหาพื้นฐาน การพัฒนาศักยภาพพื้นฐานของการเป็นนักข่าวที่ดี อันนี้เป็นหัวใจสำคัญของอาชีพนี้ไม่ว่ายูจะผ่านช่องทางสื่ออะไรก็ตาม"
.........นักวิชาชีพอาวุโส
"ข่าวที่รายงานออกมามันก็ไม่ได้ถูกรายงานออกมาจากคนที่มีเข้าใจใน issue นั้น เพราะฉะนั้นโอกาสที่ information มันถูก distort หรือถูก present ออกมาในมุมที่ควรจะเป็นมันก็ยาก"
........ผู้บริหารสถาบันพัฒนาวิชาชีพวารสารศาสตร์
"ตอนสมัยที่ตัวเองเป็นนักข่าวเนี่ย เนื่องจากนักข่าวถูกให้สถานะที่สูง และที่สำคัญ เราอยู่ท่ามกลางศูนย์กลางของอำนาจ ทำให้เราไม่กลัวอำนาจ ทำให้เราไม่กลัวอำนาจ เราร่วมใช้อำนาจไปกับเขาด้วย...
...ไม่ว่าจะเป็นกรณีของ ปตท.เอย หรือว่าย้อนกลับไปในช่วงการปั่นหุ้นปิคนิค นักข่าวกระทรวงคมนาคมได้รับหุ้นจากรัฐมนตรี รัฐมนตรีเนี่ยชักชวนให้นักข่าวมาซื้อ พอหุ้นมันล้มเนี่ยคนอื่นเจ๊งกันถ้วนหน้าเลย นักข่าวได้รับเงินคืนจากรัฐมนตรี ไม่มีใครพูดเรื่องนี้เลย"
........นักรณรงค์ด้านสิทธิผู้บริโภค
"เหมือนเป็นกระบอกเสียงนะบางที เพราะมันก็ใกล้ชิดไง แล้วการวางตัวก็ลำบาก คุณจะต้องอยู่กับเค้าเนี่ย คือต้องให้เค้าไว้ใจ ในขณะเดียวกันคุณก็ต้องกล้าตรวจสอบเค้า ซึ่งมันยากมากนะฮะ จริง ๆ มันยากมาก เหมือนเราเป็นคนตอแหลหรือเปล่า หรือเราเป็นคนกะล่อนหรือเปล่า ซึ่งมันเป็นศิลปะ ซึ่งทำได้นี่มันจะเจ๋งมาก แต่ว่ามันยากแล้วโอกาสที่จะไหลไปพร้อมกับเขานี่ มันง่าย"
........ผู้สื่อข่าวรุ่นกลาง
"หลายออฟฟิศที่ผมเคยเจอหรือเคยสัมผัสอยู่ ห้ามเขียนเลยอะไรที่กระทบกับ...เสี่ยงต่อการฟ้องร้อง ซึ่งจริง ๆ ก็ ถ้าสื่อไม่ตรวจสอบก็ไม่ต้องไปพูดถึงอะไรเลย เขียนแต่เรื่อง human interest ราคาถูก ป้องกันความเสี่ยง เพราะถ้าเกิดคุณโดนฟ้อง คุณเสียทันทีแล้วค่าทนายสองแสนห้า ไม่ว่าเราจะเขียนข่าว จะถูกแต่คือสองแสนห้าคือคุณโดน มันก็ทำให้เราต้องเซนเซอร์ตัวเองในระดับหนึ่ง"
........ผู้สื่อข่าวรุ่นกลาง
"พอเศรษฐกิจโรยพวกเราก็ตายกันไปหมดเลย ตายกันไปทั้งวิชาชีพทั้งจรรยาบรรณ"
"โฆษณาที่จะลงทุนซื้อหน้าสื่อในสื่อรายเดือนนี่นะฮะ ปรากฏการณ์ที่ชัดเจนก็คือ หลายปีที่ผ่านมาแล้วก็คงเป็นแนวโน้มทวีความเข้มข้นเรื่อย ๆ ขึ้นไปในอนาคตก็คือว่า มันจะไม่ได้จบหน้าโฆษณาในหน้าโฆษณาของมัน... แต่มันจะถูกเรียกร้องจากทั้งเจ้าของสินค้าทั้งเอเจนซี่ที่จะพยายามทำให้ content กับ ad มันถูกทำให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันหรือที่เราเรียกว่า advertorial มันก็จะกินพื้นที่มากขึ้นไปเรื่อย ๆ พูดง่ายๆ ว่า ผมเรียกมันว่าความ aggressive ของโฆษณาแหละ มันจะยิ่งทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ"

........บรรณาธิการนิตยสาร
"อย่างที่เห็น เราเลยต้องควบคู่กันไป ถามว่าเรารู้สึกอึดอัดมั้ย เค้าก็รู้ว่าเราอึดอัด เค้าก็จะให้เราตอบคำถามเราเองโดยการที่เค้าตั้งคำถามว่า หนึ่ง ก่อนที่เราจะช่วยคนอื่นได้ เราก็ต้องเอาตัวเรารอด เพราะฉะนั้นตัวเราซึ่งหมายถึงคนทั้งบริษัทอาจจะพันกว่าคนเนี่ย ก็ต้องมีชีวิตอยู่รอดโดยที่ไม่ต้องถูกไล่ออก ไม่ต้องถูกปลดออก ไม่ต้องถูกรีไทร์ออกก่อน เพราะฉะนั้นทุกฝ่ายต้องช่วยกัน เพราะฉะนั้น ไอ้ conflict of interest ในเชิง marketing มันถึงเข้ามา... โดยรวมแล้ว สื่อติดขัดปัญหาเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจ พอเศรษฐกิจโรยพวกเราก็ตายกันไปหมดเลย ตายกันไปทั้งวิชาชีพทั้งจรรยาบรรณ แต่เมื่อไรที่เศรษฐกิจเติบโต บางทีเราก็ฟุ้งเหมือนกัน
.......บรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์และออนไลน์
นี่คือ ปัญหาและความท้าทายของสื่อสิ่งพิมพ์ ในวันที่โรยรา เต็มที.

แหล่งที่มา : http://www.prachachat.net

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 5

วัฒนธรรมการทำข่าวหนังสือพิมพ์ที่เปลี่ยนไป

“…เห็นได้ชัดว่า วู้ดเวิร์ดกับเบิร์นสไตน์คือนักข่าวคนสำคัญที่ทำข่าววอเตอร์เกต และสำคัญมากจนเราเริ่มเรียกเขาสองคนรวมกันว่าวู้ดสไตน์ แต่คนที่มีบทบาทอยู่ในโพสต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำข่าวเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้นก็มีอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ในฐานะของบรรณาธิการอำนวยการ เบ็น จึงเป็นแบบอย่างของผู้นำที่แบกรับความรับผิดชอบ เขากำหนดกฎพื้นฐานต่างๆ โดยเร่งด่วน และเร่งให้ทุกคนรุกคืบไปอีกก้าวหนึ่งอย่างเห็นได้ชัด เพื่อติดตามข่าวอย่างไม่ย่อท้อ ท่ามกลางการประณามที่กระหน่ำโจมตีเราไม่เลิกรา และแผนร่วมมือกันคุกคามเราให้เกิดความกลัว …” นี่คือฉากการทำข่าวเจาะคดีวอเตอร์เกต ฉากหนึ่งที่ “แคเธอรีน เกรแฮม” เขียนเอาไว้ในหนังสือเรื่อง “บันทึกหน้าหนึ่ง” (Personal History) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ข่าวอื้อฉาวของ วอชิงตันโพสต์ ทำให้ ริชาร์ด นิกสัน ต้องลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ในปี ค.ศ. 1974
อีกฉากหนึ่งเป็นบรรยากาศการทำข่าวของสื่อมวลชนไทยยุค พ.ศ. 2493 !
“...วันหนึ่งเวลาบ่าย สภาผู้แทนราษฎรได้เลิกประชุมค่อนข้างเร็วเป็นพิเศษ และมีผู้แทนราษฎรซุบซิบกันอยู่ที่เชิงบันไดสภาหินอ่อนแห่งพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นกลุ่มๆ และที่สโมสรสภาที่ข้าพเจ้านั่งอยู่เป็นประจำนั้น ก็มีการจับกลุ่มซุบซิบกัน เสียงซุบซิบเหล่านั้นฟังได้ว่า นายพลเผ่า ศรียานนท์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจไทย กำลังดำเนินการก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ เพื่อสร้างรากฐานการเมืองทางพลเรือนให้แก่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ผู้นิยมเล่นการเมืองโดยใช้กองทัพเป็นกำลังหลักมาตลอดชีวิต
....ข้าพเจ้ายังจำได้ว่า บ่ายวันนั้นเป็นบ่ายที่มีอากาศดีทีเดียว แต่ดินฟ้าอากาศนั้นก็เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วอย่างคาดไม่ถูกเหมือนกัน และก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยเกี่ยวกับเหตุการณ์ คือ ข่าวย่อมเกิดขึ้นได้ทุกขณะและทุกฤดูกาลเสียด้วย นักข่าวสภาได้ทยอยกันกลับสำนัก หรือเร่ไปทางอื่น ข้าพเจ้ากับคุณชิต วิภาสธวัช และคุณทินกร บำรุงรัฐ ยังป้วนเปี้ยนอยู่ที่สภา เพื่อหาข่าว อาหารยังชีพของพวกเรา
....สมาชิกสภาคนหนึ่งได้มากระซิบว่า! วันนี้ คุณเผ่าเชิญพวกผู้แทนที่เป็นแฟนของรัฐบาลปฏิวัติรัฐธรรมนูญไปชุมนุมที่สวนอัมพร
....คำกระซิบสั้นๆ นี้ ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ข่าวใหญ่กำลังเกิดขึ้นแล้ว เราทั้ง 3 คน คิดอย่างเดียวกัน และเมื่อเป็นข่าวก็ต้องไปดูด้วยตาตัวเอง และคุณชิตและคุณทินกรซึ่งเป็นตากล้องหนังสือพิมพ์ชื่อดังอย่างประชาธิปไตย ก็ขึ้นรถออสตินรุ่นปู่ขับลับไป...”
....นี่คือฉากการทำข่าวของคุณพิทย์ บุณยพุทธิ เมื่อ 54 ปีที่แล้ว (จากหนังสือ “เผ่า สารภาพ” ของคุณชิต วิภาสธวัช)
ทั้งสองฉากคือบรรยากาศและสีสันในการทำข่าวที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองฉากมีความเหมือนกันตรงที่เรื่องราวดังกล่าวสามารถสะท้อนจิตวิญญาณของนักข่าวได้อย่างเปี่ยมล้นและทรงพลังยิ่งนัก
แล้วนักข่าวหนุ่มสาวในปี พ.ศ. 2547 มีฉากชีวิตแห่งการงาน ด้วยการทำข่าวที่ไหนและอย่างไร ?

**วัฒนธรรม drive A ; เบ่งบาน
เริ่มต้นที่ทำเนียบรัฐบาล วันนี้สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัย แต่ไม่พัฒนาอย่างเด่นชัด ห้องนักข่าวติดเครื่องปรับอากาศเย็นสบาย เครื่องอำนวยความสะดวกในการทำข่าวครบครัน ทั้งคอมพิวเตอร์ติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เครื่องโทรสาร และโทรศัพท์สาธารณะหลายสิบเครื่อง นักข่าวยุคใหม่มีความพร้อมในการทำงานเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ด้วยอุปกรณ์เสริมมากมาย โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ โน้ตบุ๊กส่วนตัว พ็อกเกตพีซี และที่สำคัญ อุปกรณ์ในการทำข่าวจะต้องทันสมัย ใครใช้อุปกรณ์ตกรุ่นอาจกลายเป็นพวกหลุดแนว ส่วนยุทธวิธีการทำข่าวได้พัฒนาไปสู่ระบบพูล (Pool) อย่างเต็มรูปแบบ เช่น ฉากของนักข่าวที่กรูกันสัมภาษณ์แหล่งข่าวโดยมีนักข่าวขาประจำเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เป็นคนยิงคำถาม จากนั้นก็แยกย้ายกันถอดเทป นักข่าวบางกลุ่ม บางคนจะเข้าสู่กระบวนการนำวัตถุดิบที่ได้พิมพ์ใส่จอคอมพิวเตอร์ โดยมีเพื่อนรุ่นพี่นั่งเล่นเกมออนไลน์เป็นกำลังใจ เมื่อพิมพ์ข่าวเสร็จ นักข่าวกลุ่มดังกล่าวจะส่งข่าวออนไลน์ผ่านเครือข่าย hotmail หรือ yahoo เข้าไปที่สำนักพิมพ์ต่างๆ ให้กับนักข่าวในสังกัดกลุ่มนั้นๆ เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ วันหนึ่งๆ อาจผลิตข่าวร่วมกัน 3-4 ชิ้น แล้วก็เก็บกระเป๋าเดินออกจากทำเนียบรัฐบาล พร้อมๆ กับข้าราชการ ยกเว้นวันอังคารซึ่งมีการประชุมคณะรัฐมนตรี อาจต้องผลิตข่าวมากชิ้นขึ้นนักข่าว “รุ่นน้อง” บางคนต้องตกอยู่ใต้ “อำนาจ” ของนักข่าวรุ่นพี่ไปโดยปริยาย ด้วยการทำหน้าที่พิมพ์ข่าว “รูทีน” วันละหลายข่าว ส่งให้เกือบทุกสำนักพิมพ์ เพราะนักข่าวรุ่นพี่ “มีอำนาจW ในการเช็กข่าวเอ็กซ์คลูซีฟมากำนัล หรือตอบแทนไม่ให้ “ตกข่าว” เป็นครั้งเป็นคราวเท่านั้น นักข่าวรุ่นน้องที่ “ขบถ” ต่อวัฒนธรรม dirve A ไม่ยอมตกอยู่ใต้อำนาจรุ่นพี่ รุ่นน้า อาจกลายเป็นพวกไม่มีเพื่อนในวงการเสร็จจากการทำข่าวร่วมกัน ต่างคนต่างแยกย้ายกลับบ้าน หรือไปใช้ชีวิตส่วนตัวดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรือบางกลุ่มอาจไปนั่งกินนั่งดื่มต่อ แล้วแต่รสนิยมของแต่ละกลุ่ม ขณะที่บรรณาธิการข่าว หรือหัวหน้าข่าวที่นั่งอยู่ในโรงพิมพ์ บางแห่งก็มีพฤติกรรมที่แย่ไม่แพ้กัน เช่น นักข่าวที่ตัวเองส่งไปทำข่าว ยังไม่ได้ส่งข่าวเข้ามาเลย แต่หัวหน้าก๊อบปี้ข่าว Breaking News จากเว็บไซต์ ผู้จัดการออนไลน์ หรือ เนชั่นออนไลน์ และ Mcot .net ที่ขึ้นชื่อเรื่องความเร็ว ไปเรียบร้อยทั้งดุ้น บางทีลอกข่าวเพลิน ลืมลบคำว่า “สำนักข่าวไทย” ยังเคยปรากฏมาแล้ว
นักวิชาการที่สอนอยู่ในคณะวารสารศาสตร์ วิจารณ์ว่า “ยุคนี้ ทั้งนักข่าวและหัวหน้าข่าว ต่างมักง่ายพอกัน”

**ข่าวพูลรุ่ง...ข่าวเจาะตาย
นักข่าวอาวุโส อายุงาน 15 ปีผู้หนึ่ง กล่าวว่า เชื่อหรือไม่ว่า นักข่าวใหม่ๆ บางคนพิมพ์ข่าวกัน 6-7 แผ่น แต่ไม่รู้ว่า “ประเด็น” อยู่ตรงไหน ประเด็นอะไรใหม่ หรือประเด็นเก่า พิมพ์ใส่เข้ามาหมด การทำงานของพวกเขาเริ่มด้วยการใช้ไมค์ หรือเทปจ่อปากแหล่งข่าว เสร็จแล้วก็ถอดเทปร่วมกันเป็นกลุ่ม ๆ เบื้องหลังการทำข่าวแบบอุตสาหกรรมข่าวเช่นนี้เอง ทำให้ข่าวแต่ละฉบับเหมือนกันไปหมด ชนิดที่เรียกว่าแทบทุกตัวอักษรผลพวงที่เกิดขึ้นตามมาคือ นักข่าวรุ่นใหม่เขียนข่าวไม่เป็น ภาษาข่าวไม่สละสลวย เพราะไม่ได้เขียนข่าวเอง แต่ให้เพื่อนเขียนข่าวให้ ตัวเองมีหน้าที่ฟังเทปแล้วบอกให้เพื่อนพิมพ์ข่าว นักหนังสือพิมพ์อาวุโสเคยเล่ากันว่า เมื่อก่อนในวงการนักข่าวถือเรื่องนี้กันมาก หากข่าวใดนักข่าวไม่ได้ทำเอง เขาจะไม่นำข่าวนั้นไปตีพิมพ์ในฉบับของตนเองเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นการเสียศักดิ์ศรี และไม่มีความภาคภูมิใจ เมื่อสิบปีก่อนมีเรื่องเล่าว่า นักข่าวคนหนึ่งไปสัมภาษณ์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่บ้านพักริมปิง จ.เชียงใหม่ หลังจากสัมภาษณ์เสร็จ อาจารย์หม่อมถามว่า “จะเอาข่าวไปลงตีพิมพ์ที่ไหน” นักข่าวบอกว่า 2 ฉบับคือ ฉบับของตัวเอง และส่งข่าวให้เพื่อนด้วย 1 ฉบับ
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์บอกกับนักข่าวคนที่ไปสัมภาษณ์ว่า “อย่าไปส่งข่าวนี้ให้เพื่อนอีกสำนักพิมพ์ เพราะมันไม่ได้ทำข่าวเอง มันไม่มีสิทธิ์ได้ข่าว” พร้อมกับโทรศัพท์ไปสั่งโรงพิมพ์ของเพื่อนนักข่าวคนนั้นว่า “ห้ามลงข่าวนี้ ...เด็ดขาด”
ปรากฏการณ์ที่ใช้ระบบพูลข่าว ทำให้นักข่าวบางคนที่ไม่ได้ไปทำข่าว แต่หนังสือพิมพ์ของตนเองมีข่าวที่แหล่งข่าวพูดครบถ้วน ถูกแหล่งข่าวต่อว่า “ผมไม่ได้ให้สัมภาษณ์คุณสักหน่อย ...คุณเอาข่าวไปลงได้อย่างไร มันผิดจริยธรรมอย่างแรง คุณรู้มั้ย”
นี่คือภาพแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง

*** “การเฝ้าข่าว”…วัฒนธรรมที่หายไป
ทุกวันนี้ไม่น่าแปลกที่นักข่าวรุ่นใหม่จะไม่รู้จักอดทน อดกลั้น รอคอยโอกาส พวกเขาไม่รู้จักการเฝ้าข่าว และที่สำคัญ วัฒนธรรมการทำข่าวเจาะสูญหายไปท่ามกลางความทันสมัยและไฮเทค ภาพสะท้อนที่ชัดเจนเกิดขึ้นในการทำข่าววันประชุมสภา กล่าวกันว่า การทำข่าวประชุมสภาจะสะท้อนความอดทนของนักข่าวได้อย่างดีที่สุด เพราะการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแต่ละฉบับ จะต้องใช้เวลาประชุมยาวนาน บางครั้งต้องพิจารณาข้ามวันข้ามคืน เมื่อก่อนจะเห็นทั้งนักข่าวและช่างภาพนั่งรอข่าวกันไม่ยอมถอย แต่ พ.ศ.นี้ ภาพการทำข่าวเช่นนั้นไม่มีอีกแล้ว เพราะนักข่าวจะใช้ระบบพูล จัดคิวกันไปฟังการประชุม แล้วสลับกันลงมาพิมพ์ข่าว เพื่อป้อนเข้าสู่ระบบ drive A ; ถ้าข่าวผิดก็จะผิดเหมือนกันหมดทุกฉบับ อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การทำข่าวงบประมาณรายจ่ายประจำปี เมื่อก่อนกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี จะปิดห้องประชุมลับ นักข่าวเข้าไปทำข่าวไม่ได้ ต้องเจาะข่าวจากกรรมาธิการแต่ละคนที่เดินมาเข้าห้องน้ำ แต่หลังจากประตูห้องกรรมาธิการงบประมาณเปิดกว้างให้นักข่าวเข้าไปนั่งฟังการประชุม ปรากฏว่าไม่มีนักข่าวสนใจเข้าไปทำข่าว ขนาดเอกสารงบประมาณยังไม่มีนักข่าวสนใจจะหยิบไปอ่าน เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เจาะลึกไส้ในของงบประมาณนักข่าวรัฐสภา ผู้เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของนักข่าวการเมืองมาเกือบ 20 ปี เล่าว่า “นักข่าวยุคนี้ทำงานสบาย บางคนมาทำงานเกือบเที่ยง หรือบ่ายโมง มาถึงสภาปั๊บก็เปิดโน้ตบุ๊ก อ่านข่าวออนไลน์ โดยเลือกอ่านข่าวกระแสเพียงไม่กี่ข่าว จากนั้นก็ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง โทรศัพท์เช็กแหล่งข่าว และพิมพ์ข่าวอีกชั่วโมง เป็นอันเสร็จภารกิจประจำวัน พวกนี้ใช้เวลาทำงานเพียงวันละไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น”

***ยุคของ พี.อาร์.ภิวัตน์
เมื่อวัฒนธรรมของนักข่าวบางกลุ่ม บางคน มุ่งไปสู่ความทันสมัย แต่ไม่พัฒนา ทำให้นักข่าวเลือกอะไรที่ง่ายๆ เร็วๆ โดยไม่ต้องใช้หัวสมองคิดมากนัก ปรากฏการณ์ “มักง่าย” ทางสติปัญญา จึงกลายเป็นกระแสหลักร่วมสมัยคนที่อ่านเกมนี้ออกและได้ประโยชน์จากเกมนี้มากที่สุด คือ นักประชาสัมพันธ์ หรือ พี.อาร์. ซึ่งหลายคนกลายพันธุ์มาจากนักข่าว หรืออดีตนักข่าว ที่มีความเชี่ยวชาญด้านข่าวสาร และมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับนักข่าวหลายสำนักทุกวันนี้นักข่าวชอบ “ข่าวแจก” เพราะ พี.อาร์.ผู้ชำนาญการ ล้วนเป็นนักข่าวเก่าที่มีประสบการณ์สูงในการเลือกประเด็นข่าวที่น่าสนใจ เนื้อข่าว และพาดหัวข่าว กล่าวกันว่า พวกเขาสามารถเขียนข่าว พี.อาร์.ให้เป็นข่าวหน้า 1 ได้อย่างสบายๆ ไม่แพ้คนที่นั่งในกองบรรณาธิการงานของ พี.อาร์.อย่างง่ายที่สุด คือ การล็อบบี้เพื่อนๆ น้องๆ ให้ไปทำข่าว ด้วยการใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว ยิ่งนักข่าวไปทำข่าวมากเท่าไร ยิ่งเป็นการเพิ่มบารมีและเพิ่ม Power ให้แก่ พี.อาร์. และแน่นอนว่า “แหล่งข่าว” ย่อมพอใจ และยินดีที่จะตอบแทน “ค่าประสานงาน” ให้แก่ พี.อาร์.ขาใหญ่เป็นตัวเลขหลายหลักหลายครั้ง พี.อาร์.ขาใหญ่มักจะนัดให้นักข่าวได้สัมภาษณ์พิเศษ “แหล่งข่าว” หากบทสัมภาษณ์ได้ตีพิมพ์ลงหน้า 1 ย่อมทำให้ พี.อาร์.นำไปอ้างเป็นผลงานได้อย่างสบายๆ นับว่าสมประโยชน์กันดี ระหว่าง พี.อาร์.ผู้เจนโลกกับนักข่าวผู้นิยมความมักง่าย
จากนั้น พี.อาร์.มักจะคืนกำไรให้แก่น้องๆ นักข่าว โดยการพาไปเลี้ยง พาไปร้องเพลงคาราโอเกะ
ปรากฏการณ์เช่นนี้เองที่ทำให้ “แหล่งข่าว” บางคนมีภาพลักษณ์ที่ดูดีเกินจริง และแหล่งข่าวพวกนี้สามารถครองพื้นที่ข่าวหน้า 1 ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่เบื้องหลังซ่อนสิ่งปฏิกูลไว้มากมาย แต่เมื่อนักข่าวคุ้นเคยกับ “ข่าวแจก” มากกว่า “ข่าวเจาะ “
ปรากฏการณ์ของนักข่าวพันธุ์ใหม่ drive A ; อาจเป็นผลพวงของระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยในยุคสังคมข้อมูลข่าวสาร แต่ข่าวสารที่ผู้บริโภคได้รับจากการอ่านหนังสือพิมพ์มีคุณภาพเพียงพอหรือไม่ ...ยังน่าสงสัย ?

แหล่งที่มา : http://www.tja.or.th

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 4

นักข่าวหนังสือพิมพ์มติชน มาทำข่าวการผลิตไบโอดีเซล

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน กลุ่มผู้ผลิตไบโอดีเซลชุมชนบ้านเกาะใหญ่ โดยเยาวชนมุสลิมบ้านเกาะใหญ่ ได้ต้อนรับนักข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน ซึ่งได้มาทำข่าวเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านเกาะใหญ่ ซึ่งในวันดังกล่าวได้มีนายวิสิฐ ตั้งปอง นายอำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ได้ให้การต้อนรับคณะนักข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน ซึ่งจากการทำข่าวในครั้งนี้เป็นที่ภาคภูมิใจของชาวบ้านเกาะใหญ่เป็นอย่างมากที่สมารถสร้างผลงานที่มีชื่อเสียงและสามารถเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในชุมชนและผู้ที่สนใจได้ ซึ่งในวันดังกล่าวได้มีการสัมภาษณ์ สุเมธ สาดีน ประธานกลุ่มผู้ผลิตไบโอดีเซลชุมชนบ้านเกาะใหญ่ เยาวชนมุสลิมบ้านเกาะใหญ่ และได้สาธิตการทดลองตั้งแต่เริ่มแรกของการผลิตไบโอดีเซล จนกระทั่งสามารถนำมาเติมเป็นน้ำมันรถยนต์ได้

แหล่งที่มา : http://www.blog.masjidhidayah.com

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 3

ประวัติของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร บทความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงเลยอาจพิจารณาให้ลบ


“ หนังสือพิมพ์เช้า ภาพข่าวสดประจำบ้าน ”


ประเภท หนังสือพิมพ์รายวัน

รูปแบบ หนังสือพิมพ์มวลชน
(Mass Newspaper)

เจ้าของ บริษัท วัชรพล จำกัด

บรรณาธิการ
อำนวยการ ยิ่งลักษณ์ วัชรพล
บริหาร สราวุธ วัชรพล
ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา สุนทร ทาซ้าย
ในอดีต กำพล วัชรพล

บุคคลสำคัญ
คอลัมนิสต์ ซูม ซอกแซก
ชัย ราชวัตร
ลัดดา

ภาษาที่ใช้ ไทย
ก่อตั้งเมื่อ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 (อายุ 47 ปี) (ในชื่อไทยรัฐ)
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 (ในชื่อเสียงอ่างทอง)
9 มกราคม พ.ศ. 2493 (ในชื่อข่าวภาพ)
ฉบับสุดท้าย 24 ธันวาคม พ.ศ. 2505 (ในชื่อเสียงอ่างทอง)
20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (ในชื่อข่าวภาพ)
ราคา 10.00 บาท
ยอดพิมพ์/
ยอดจำหน่าย 1,000,000 ฉบับ

สำนักงาน เลขที่ 1 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
เว็บไซต์ www.thairath.co.th
ไทยรัฐ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดของประเทศ จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2523 ก่อตั้งโดย นายกำพล วัชรพล ปัจจุบันมี บริษัท วัชรพล จำกัด เป็นเจ้าของ, นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล เป็นผู้อำนวยการ และนายสราวุธ วัชรพล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบัน 1,000,000 ฉบับ ราคาจำหน่าย 10.00 บาท

ประวัติ
ข่าวภาพ
เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2493 นายกำพล วัชรพล นายเลิศ อัศเวศน์ และนายวสันต์ ชูสกุล ร่วมกันจดทะเบียนขอออกหนังสือพิมพ์ ข่าวภาพ รายสัปดาห์ จากนั้น ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ผู้ก่อตั้งทั้งสาม ปรับเวลาออกหนังสือพิมพ์ข่าวภาพให้เร็วขึ้น จากรายสัปดาห์ เป็นรายสามวัน ต่อมา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2495 หนังสือพิมพ์ข่าวภาพรายวัน ฉบับปฐมฤกษ์ ออกจำหน่ายแทนที่ ข่าวภาพรายสามวัน มีจำนวนพิมพ์ 3,000 ฉบับ จากนั้น นายกำพล นายเลิศ และนายวสันต์ ได้ขยายกิจการสื่อเพิ่มเติม โดยเปิดนิตยสารข่าวภาพรายเดือน เมื่อปี พ.ศ. 2496 แต่แล้ว ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติ ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 3 สั่งปิดหนังสือพิมพ์หลายฉบับ รวมทั้งข่าวภาพด้วย รวมถึงหลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ ก็เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงพิมพ์ซ้ำเข้ามาอีก[1]

เสียงอ่างทอง
จากวันนั้น นายกำพลก็ใช้ความพยายามอย่างยิ่ง ในการออกหนังสือพิมพ์ใหม่อีกครั้งอยู่โดยตลอด จนกระทั่งสามารถซื้อ หัวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจากจังหวัดอ่างทอง มาออกพิมพ์จำหน่ายในส่วนกลาง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 นายกำพลจึงได้ออกหนังสือพิมพ์ เสียงอ่างทอง รายวัน ด้วยยอดพิมพ์ในครั้งแรก จำนวน 7,000 ฉบับ และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 ยอดจำหน่ายหนังสือพิมพ์เสียงอ่างทอง เพิ่มขึ้นสูงถึง 45,000 ฉบับ นายกำพลจึงสั่งให้ใช้ระบบตีด่วน ที่จัดตั้งฝ่ายจัดจำหน่ายในส่วนภูมิภาคด้วยตนเอง[2]

ไทยรัฐ
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ออกวางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ โดยกองบรรณาธิการชุดเดิมของเสียงอ่างทอง ที่เจ้าของหัวหนังสือพิมพ์คนเดิม มาเรียกคืนกลับไป โดยใช้คำขวัญในยุคแรกว่า หนังสือพิมพ์เช้า ภาพข่าวสดประจำบ้าน มี จำนวนพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวน 16 หน้า ราคาฉบับละ 1.00 บาท ต่อมา ในราวปลายปี พ.ศ. 2508ไทยรัฐเริ่มจัดพิมพ์ฉบับพิเศษในวันอาทิตย์ ให้ชื่อว่า ไทยรัฐสารพัดสี จำนวน 20 หน้า ราคาเท่าเดิม ส่งผลให้ยอดพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 140,000 ฉบับต่อมา ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 เพิ่มจำนวนเป็น 20 หน้าต่อฉบับในทุกวัน ส่งผลให้ยอดพิมพ์เพิ่มขึ้นอีกเป็น 200,000 ฉบับ จากนั้น ในปี พ.ศ. 2515 ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในกองบรรณาธิการไทยรัฐ ต่อมา วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2516ไทยรัฐประกาศปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์อีก 50 สตางค์ (เป็น 1.50 บาท) ในช่วงเหตุการณ์วันมหาวิปโยค ระหว่างวันที่ 14-16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ยอดพิมพ์ไทยรัฐปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะวันที่ 16 เพิ่มสูงขึ้นถึง 1,181,470 ฉบับ
เกิดเหตุลอบยิงสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ด้วยระเบิด เอ็ม-79 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ไทยรัฐได้สร้างปรากฏการณ์สำคัญอีกครั้ง เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2520 ด้วยการเช่าเครื่องบินเหมาลำ จากจังหวัดเชียงใหม่ กลับสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นห้องล้างฟิล์มชั่วคราวกลางอากาศ ที่บันทึกภาพข่าว การชกมวยป้องกันตำแหน่งของแสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ ที่ชนะน็อกมอนโร บรูกส์ ในยกที่ 15 โดยเมื่อถึงกรุงเทพฯ จึงนำภาพลงหนังสือพิมพ์ได้เพียงฉบับเดียว
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่อง Hell ในระบบรับ-ส่งภาพขาวดำระยะไกล (Telephoto Receiver & Facsimile Transmitter) ทั้งนี้ ไทยรัฐยังเพิ่มยอดพิมพ์ในฉบับประจำวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2522 เป็นจำนวน 1,000,742 ฉบับ นอกจากนี้ ไทยรัฐประกาศปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์อีก 50 สตางค์ (เป็น 2.00 บาท) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 และปรับขึ้นอีก 1 บาท (เป็น 3.00 บาท) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2523
น.ส.พ.ไทยรัฐ ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2519 รายงานเหตุการณ์ 6 ตุลา ในหน้า 1จากนั้น ไทยรัฐได้สร้างปรากฏการณ์อีกครั้ง ในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับประจำวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พาดหัวข่าวตัวใหญ่ถึงครึ่งหน้ากระดาษ โดยดำริของนายกำพล ซึ่งเป็นที่ลือลั่นว่า “สั่งปลด...อาทิตย์” ส่งผลให้ยอดจำหน่ายขึ้นสูงไปถึงเลข 7 หลัก ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปกติถึงร้อยละ 30 และไทยรัฐเริ่มพิมพ์ปกเป็นสี่สีฉบับแรก เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2531 โดยตีพิมพ์ภาพข่าว นางสาวภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก รับตำแหน่งนางงามจักรวาลที่ไต้หวัน 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ไทยรัฐประกาศปรับขึ้นราคาหนังสือพิมพ์อีก 2 บาท (เป็น 5.00 บาท) และวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่อง Hell ในระบบรับส่งภาพสีระยะไกล ไทยรัฐสร้างปรากฏการณ์พิเศษ ด้วยการจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์ ฉบับประจำวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เป็นพิเศษ จำนวน 108 หน้า เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 40 ปี หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และครบรอบวันเกิด 70 ปี ของนายกำพล ในฐานะผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ระหว่างวันที่ 17-21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ไทยรัฐมียอดพิมพ์อยู่ในระดับ 1,000,000 ฉบับเศษ โดยเฉพาะวันที่ 19 พฤษภาคม เพิ่มสูงขึ้นถึง 1,428,624 ฉบับ เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2537 ไทยรัฐนำเครื่องรับส่งภาพระยะไกล ลีแฟกซ์ (Leafax) จากบริษัท เอพี จำกัด เข้ามาใช้ต่อพ่วง และแสดงภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานได้ทันที รวมทั้งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ศูนย์ข่าวภูมิภาคใน 17จังหวัด ก็ได้นำระบบรับส่งภาพดังกล่าวไปใช้ ในการส่งภาพกลับเข้ามายังสำนักงานส่วนกลางที่กรุงเทพฯ อีกด้วย ต่อมาเพิ่มอีก 9 จังหวัด ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 และเพิ่มอีก 4 จังหวัด ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน รวมทั้งสิ้น 30 จังหวัด
ในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2539 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐเพิ่มเป็น 40 หน้าทุกวัน ตามที่ได้เตรียมการมาเป็นเวลายาวนาน พร้อมประกาศปรับราคาจำหน่ายอีก 3 บาท (เป็น 8.00 บาท) จากนั้นจึงประกาศปรับราคาอีก 2 บาท (เป็น 10.00 บาท) เมื่อปี พ.ศ. 2551 ปัจจุบันมี บริษัท วัชรพล จำกัด เป็นเจ้าของ, นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล เป็นผู้อำนวยการ และนายสราวุธ วัชรพล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ ซึ่งทั้งสองเป็นทายาทของนายกำพล มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบัน 1,000,000 ฉบับ ราคาจำหน่าย 10.00 บาท ในหนึ่งฉบับมีประมาณ 28-40 หน้า

กิจการบริษัท
เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2518 นายกำพลได้ก่อตั้งนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดขึ้นในชื่อ บริษัท วัชรพล จำกัด (อังกฤษ: Vacharaphol Company Limited) เพื่อเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และเป็นผู้บริจาคทุนทรัพย์ในการก่อสร้างโรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั้ง 101 แห่ง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้าวันดังกล่าว ไม่ปรากฏว่าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ดำเนินกิจการในรูปแบบใด
ปัจจุบัน คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล ภริยานายกำพล ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท มีพนักงานทั้งสิ้น 2,007 คน เฉพาะกองบรรณาธิการ 262 คน อาคารทั้งหมด 13 หลัง บนพื้นที่ 39 ไร่ 9 ตารางวา และ 35 ศูนย์ข่าวในส่วนภูมิภาค โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท จากนั้น มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกหลายครั้ง ดังนี้
18 ธันวาคม พ.ศ. 2535 - 500 ล้านบาท
29 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 2,000 ล้านบาท
4 สิงหาคม พ.ศ. 2538 - 3,000 ล้านบาท
13 มกราคม พ.ศ. 2539 - 4,000 ล้านบาท

รายชื่อผู้อำนวยการ และ หัวหน้ากองบรรณาธิการไทยรัฐ
ผู้อำนวยการ
นายกำพล วัชรพล : 25 ธันวาคม 2505-21 กุมภาพันธ์ 2539
คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล (รักษาการ) : 21 กุมภาพันธ์-24 เมษายน 2539
นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล : 25 เมษายน 2539-ปัจจุบัน
หัวหน้ากองบรรณาธิการ
นายกำพล วัชรพล : 25 ธันวาคม 2505-2 กรกฎาคม 2531
นายสราวุธ วัชรพล : 3 กรกฎาคม 2531-ปัจจุบัน

อาคารสถานที่
ในราวกลางปี พ.ศ. 2511 บจก.วัชรพล ได้เริ่มซื้อที่ดินขนาด 11 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา ริมถนนวิภาวดีรังสิตไปพร้อมกันด้วย จากนั้น ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2512 บจก.วัชรพล ดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงาน บนที่ดินดังกล่าว จำนวน 7 หลัง ได้แก่ อาคารอำนวยการ 3 ชั้น, อาคารโรงพิมพ์, อาคารสโมสร 2 ชั้น, อาคารเก็บกระดาษ 1, อาคารพัสดุ 3 ชั้น, อาคารเครื่องปั่นไฟ และ บ้านพักพนักงาน 2 ชั้นโดยในระยะแรก ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2512 กองบรรณาธิการไทยรัฐ ยังคงทำงานอยู่ที่สำนักงานซอยวรพงษ์ แต่ย้ายโรงพิมพ์มาอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิตแล้ว จึงต้องใช้จักรยานยนต์ ลำเลียงแผ่นเพลตที่ทำเสร็จแล้ว จากสำนักงานมายังโรงพิมพ์ จนกระทั่งวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 บจก.วัชรพล จึงย้ายสำนักงานจากซอยวรพงษ์ มาอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต อย่างสมบูรณ์แบบ
จากนั้น เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2516 บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินส่วนหลัง ติดถนนร่วมศิริมิตร บริเวณข้างที่ทำการสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เพิ่มเติมอีก 11 ไร่ 3 งาน 66 ตารางวา พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารเก็บกระดาษ 2 และโรงซ่อมบำรุงรถขนส่ง เพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง ต่อมา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินส่วนหน้า ติดถนนวิภาวดีรังสิต เพิ่มอีก 3ไร่ 1 งาน 22 ตารางวา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 บจก.วัชรพล สร้างอาคารเพิ่มขึ้นอีก 3 หลัง คือ อาคารโรงพิมพ์และสำนักงาน 9 ชั้น, อาคารเก็บกระดาษ 3 และจอดรถ 5 ชั้น และอาคารโรงซ่อมบำรุงรถขนส่ง 2 ชั้น และเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2532 บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินส่วนหลัง ลึกเข้าไปถึงริมถนนพหลโยธิน เพิ่มอีก 4 ไร่ 2 งาน 26 ตารางวา และวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินบริเวณเดียวกัน เพิ่มอีก 5 ไร่ 3 งาน 47 ตารางวา นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 บจก.วัชรพล ซื้อที่ดินส่วนหน้า ติดถนนวิภาวดีรังสิต เพิ่มอีก 1 ไร่ 3 งาน 9 ตารางวา เพื่อสร้างอาคารบริการธุรกิจโฆษณา 13 ชั้น 1 เมษายน พ.ศ. 2537 บจก.วัชรพล ก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้นอีก 3 หลัง คือ อาคารโรงพิมพ์ 9 ชั้น, อาคารเก็บกระดาษ 4 จำนวน 3 ชั้น และอาคารเก็บกระดาษ 5 จำนวน 4 ชั้น (โดยรื้อบ้านพักพนักงานออกทั้งหมด และรื้ออาคารพัสดุออกบางส่วน) ปัจจุบัน บริษัท วัชรพล จำกัด มีบริเวณที่ดินทั้งหมด 39 ไร่ 9 ตารางวา หรือ 15,609 ตารางวา และมีอาคารทั้งหมด 13 หลัง

ระบบการพิมพ์
ในยุคข่าวภาพ และเสียงอ่างทอง การพิมพ์หนังสือ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการจ้างทั้งสิ้น จนกระทั่งเริ่มใช้ชื่อไทยรัฐ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 จึงเริ่มใช้เครื่องพิมพ์ระบบ เลตเตอร์ เพรสส์ (Letter Press - ฉับแกระ) ตรา ชิกาวา โอพีไอ (Chikawa OPI) และเรียงพิมพ์ด้วยตัวเรียงตะกั่ว แม่พิมพ์พื้นนูน
ต่อมา เมื่อราวปลายปี พ.ศ. 2508 ไทยรัฐเปลี่ยนไปใช้เครื่องพิมพ์ระบบ โรตารี (Rotary) พิมพ์บนกระดาษม้วน ด้วยแม่พิมพ์พื้นนูน ที่หลอมจากตะกั่ว จากนั้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2512 ไทยรัฐติดตั้งเครื่องพิมพ์ระบบ เว็บ ออฟเซ็ต (Web Offset) ตรา ฮามาดา เอโออาร์ (Hamada AOR) จำนวน 2 เครื่อง หมายเลข 175 และ 177 จากประเทศญี่ปุ่น พิมพ์ได้ฉบับละ 16 หน้า (สี่สี 2 หน้า) สามารถพิมพ์ได้ 18,000 ฉบับต่อชั่วโมง
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่องพิมพ์ระบบ ออฟเซ็ต (Offset) ตรา ฮามาดา เอ็นโออาร์ (Hamada NOR) จำนวน 1 เครื่อง หมายเลข 192 พิมพ์ได้ฉบับละ 16 หน้า (สี่สี 2 หน้า) กำลังการผลิต 30,000 ฉบับต่อชั่วโมง และเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2519 ไทยรัฐเปลี่ยนระบบการพิมพ์ จากการเรียงตัวตะกั่ว เป็นระบบเรียงพิมพ์ด้วยแสง โดยร่วมกับ บริษัท คอมพิวกราฟิก จำกัด พัฒนาเครื่องเรียงพิมพ์ ยูนิเวอร์แซล 4 (Universal 4) ซึ่งทำงานกับภาษาอังกฤษ ให้ใช้งานเป็นภาษาไทยได้สำเร็จ
จากนั้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2522 ไทยรัฐเปลี่ยนไปใช้เครื่องพิมพ์ตรา แมน โรแลนด์ ยูนิแมน 2/2 (Man Roland Uniman 2/2) จำนวน 2 เครื่อง หมายเลข 108 และ 113 จากประเทศเยอรมนี พิมพ์ได้ฉบับละ 20 หน้า (สี่สี 4 หน้า) สามารถพิมพ์ได้ 40,000 ฉบับต่อชั่วโมง พร้อมทั้งเลิกใช้เครื่องพิมพ์ตรา ฮามาดา รุ่น เอโออาร์ ทั้งหมด ต่อมา ไทยรัฐติดตั้งเครื่องพิมพ์รุ่นเดียวกัน เพิ่มอีกคราวละ 1 เครื่อง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 (หมายเลขเครื่อง 004) และวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2525 (หมายเลขเครื่อง 037)
ไทยรัฐได้นำเครื่องแยกสี ครอสฟิลด์ (Crosfield) เข้ามาใช้ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และเพิ่มอุปกรณ์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ต่อมา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ไทยรัฐเริ่มใช้เครื่องพิมพ์ตรา แมน โรแลนด์ ยูนิแมน 4/2 จำนวน 2 เครื่อง หมายเลข 137 และ 138 พิมพ์ได้ฉบับละ 32 หน้า (สี่สี 4 หน้า) สามารถพิมพ์ได้ 40,000 ฉบับต่อชั่วโมง พร้อมทั้งเลิกใช้เครื่องพิมพ์ ฮามาดา เอ็นโออาร์ 1 เครื่อง
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 ไทยรัฐได้นำระบบเรียงพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ตรา เอเท็กซ์ (Atex) เข้ามาใช้ในการเรียงพิมพ์ รวมถึงเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534 จึงได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ตราเดียวกัน ในการจัดหน้าข่าวด้วย เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2536 ไทยรัฐจัดพิมพ์หน้าสีเพิ่มขึ้น จึงได้นำระบบแยกสีประกอบหน้า ไซน์เทค (Scitex - Color Separation and Pagination System) มาใช้ประกอบโฆษณาสี และหน้าข่าวสี่สี และเพิ่มอุปกรณ์แยกสีดังกล่าว เพื่อประกอบหน้าข่าวสี่สีเพิ่ม เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 และเพื่อรองรับงานพิมพ์ 40 หน้า เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2538 พร้อมกันนั้น ไทยรัฐได้เพิ่มระบบเรียงพิมพ์และประกอบหน้า (Editorial System) ด้วยระบบ พี.อิงค์ (P.Ink)
ต่อมา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ไทยรัฐสร้างความฮือฮาในวงการพิมพ์ ด้วยการติดตั้งเครื่องพิมพ์ตรา แมน โรแลนด์ จีโอแมน (Man Roland Geoman) จากเยอรมนี จำนวน 6 เครื่อง หมายเลข 006, 007, 008, 009, 010 และ 011 มูลค่ามหาศาลถึง 2,000 ล้านบาท สามารถพิมพ์ได้ฉบับละ 48 หน้า (สี่สี 24 หน้า) สามารถพิมพ์ได้ 40,000 ฉบับต่อชั่วโมง และในวันเกิดของกำพลปีนั้นเอง ที่ตัวเขาเป็นผู้กดปุ่มเดินเครื่องพิมพ์เหล่านี้ด้วยตนเอง
ปัจจุบัน ไทยรัฐใช้เครื่องพิมพ์ตรา แมน โรแลนด์ รุ่น จีโอแมน จากประเทศเยอรมนี ซึ่งมีกำลังในการผลิตชั่วโมงละ 360,000 ฉบับ โดยใช้พิมพ์ฉบับละ 40 หน้า (สี่สี 20 หน้า) ซึ่งในแต่ละวัน ใช้กระดาษทั้งหมด 230 ม้วน คิดเป็นน้ำหนัก 225 ตัน และใช้หมึกสีดำ 1,200 กิโลกรัม, สีแดง 445 กิโลกรัม, สีฟ้า 430 กิโลกรัม, สีเหลือง 630 กิโลกรัม โดยทางบริษัทฯ มักจะนำผู้เข้าเยี่ยมชมกิจการ เข้าชมการผลิตหนังสือพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ดังกล่าว จนกระทั่ง อุดม แต้พานิช ได้กล่าวถึงการเข้าชมกิจการของ บจก.วัชรพล และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในการแสดงเดี่ยวไมโครโฟนของเขาว่า เป็นการ “เยี่ยมแท่นพิมพ์”

คอลัมน์
ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน

ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน เป็นผลงานการ์ตูน ของ ชัย ราชวัตร ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยเนื้อหาเป็นแนวการเมืองและล้อเลียนข่าวประจำวัน ตีพิมพ์ครั้งแรก ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 [3][4] โดยมีตัวละครที่สำคัญคือ
ผู้ใหญ่มา - ผู้ใหญ่บ้านรูปร่างท้วม มีผ้าขาวม้าคาดพุง
ไอ้จ่อย - ลูกบ้านตัวผอม นุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียว ใส่แว่นตาดำ ถือถุงกระดาษ
ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ได้รับการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2523 กำกับโดย สมชาติ รอบกิจ บทภาพยนตร์โดย หยอย บางขุนพรหม (ศรีศักดิ์ นพรัตน์) โดยมี ล้อต๊อก รับบท ผู้ใหญ่มา และ นพดล ดวงพร ในบทบาท ไอ้จ่อย

เปิดฟ้าส่องโลก
เป็นคอลัมน์หน้าต่างประเทศของนิติภูมิ นวรัตน์ เป็นคอลัมน์แรกๆของเมืองไทยที่จุดประเด็นการต่อต้านนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและชี้ให้เห็นด้านดีของประเทศมุสลิม และจากคอลัมน์ที่เขียนเกี่ยวกับอาร์เจนติน่า ได้จุดกระแสการต่อต้านห้างค้าปลีกต่างชาติและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคยใช้คอลัมน์นี้หยิบมาอ่านเพื่่อโจมตีรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรด้วย คอลัมน์ที่มีชื่อเสียงที่สุึด คือ จุดจบประเทศไทย2553 ที่เป็นหนี่งสิบฟอร์เวิรด์เมล์ที่ถูกส่งต่อมากที่สุดของประเทศไทย

แหล่งที่มา: http://th.wikipedia.org

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1

เชิญร่วมประกวดวิทยานิพนธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการสื่อสารมวลชน
ประจำปี ๒๕๕๓ ด้วยมูลนิธิไทยรัฐ มอบรางวัลแก่ผู้มีผลงานในการทำวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๕๓ ด้านวารสารศาสตร์, สื่อสารมวลชน และนิเทศศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่ได้ศึกษาวิจัย อันเป็นประโยชน์แก่วงการสื่อสารมวลชน เช่น การผลิต การตลาด การโฆษณา เทคโนโลยีการพิมพ์ และ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายกำพลวัชรพล อดีตผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ตามหลักเกณฑ์ในประกาศรางวัล “กำพล วัชรพล”
วิทยานิพนธ์ที่จะส่งเข้าประกวดได้ จะต้องเป็นวิทยานิพนธ์ที่ได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๒ ถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ ผู้สนใจสามารถส่งผลงานวิทยานิพนธ์เข้าประกวดได้ที่ มูลนิธิไทยรัฐ ระหว่างวันที่ ๑ สิงหาคม-๑๕ กันยายน ๒๕๕๓ วิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตัดสินให้เป็นวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยม จะได้รับรางวัลเงินสด ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน) พร้อมด้วยโล่และประกาศเกียรติคุณ

สอบถามรายละเอียดและขอใบสมัคร

สำนักงานมูลนิธิไทยรัฐ อาคาร ๑๒ (ตึกโฆษณา) ชั้น ๔ เลขที่ ๑ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๗๒-๑๐๓๐ ต่อ ๑๑๘๖-๑๑๘๗ หรือ ๐-๒๑๒๗-๑๐๖๔ โทรสาร ๐-๒๒๗๒-๑๗๕๔ ได้ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์ หรือ http://www.thairath.co.th

ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
แหล่งที่มา http://www.thairath-found.or.th/news/708/

หัวข้อข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2

ชมหนังแอนิเมชั่น “รามเกียรติ์” ในโครงการ “๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์”
ข่าวประจำนที่ 20 กรกฎาคม 2553

จัดฉายภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง “รามเกียรติ์” ในโครงการ “๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพ ระหว่าง 9-15 ส.ค.นี้ ในโรงภาพยนตร์เครือเอสเอฟทั่วประเทศ...
"มูลนิธิ ดินดี น้ำใส เทิดไท้องค์ราชัน" ร่วมกับ "กระทรวงการคลัง" พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมจัดฉายภาพยนตร์แอนิเมชั่น เรื่อง “รามเกียรติ์” จากจิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในโครงการ “๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพ ในฐานะที่ทรงเป็นคู่พระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และทรงเป็นแม่ของแผ่นดินมาตลอด 60 ปี ตลอดจนเพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบ 19 รอบนักษัตร หรือ 228 ปีแห่งราชวงศ์จักรีในปีนี้ โดยการจัดฉายภาพยนตร์ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย ระหว่างวันที่ 9-15 สิงหาคมศกนี้ ในโรงภาพยนตร์เครือเอสเอฟทั่วประเทศ สำหรับการจัดโครงการเฉลิมพระเกียรติ “๑๒ สิงหา เคียงคู่ เคียงราษฎร์” โดย ม.ร.ว. สมลาภ กิติยากร ประธานโครงการฯ ดร.มั่น พัธโนทัย รมช.คลัง ผู้สนับสนุนโครงการฯ นายพูลผล อัศวเหม ผู้อำนวยการโครงการฯ นายธนวัฒน์ วันสม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บจม.อสมท. ผู้สนับสนุนโครงการฯ

แหล่งที่มา http://www.thairath.co.th/content/edu/97311

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ไปรษณีย์ไทยก้าวไกลสู่อีเบย์

ไปรษณีย์ไทยก้าวไกลสู่อีเบย์
ไปรษณีย์ไทยก้าวหน้าจับมืออีเบย์เช็กสถานะสินค้าออนไลน์
อีเบย์ร่วมมือ ปณท. ให้เช็กสถานะจัดส่งสินค้าผ่านระบบ Track & Trace จากอินเทอร์เน็ต ตั้งเป้าสิ้นปี 53 ดันมูลค่าซื้อขายผ่านมือถือทะลุ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ...นายมาร์ค คาร์เจส ประธานด้านเทคโนโลยีและรองประธานอาวุโส กลุ่มธุรกิจโกรบอล โพรดัคส์ อีเบย์ มาร์เก็ตเพลส เปิดเผยว่า ปัจจุบัน โทรศัพท์เคลื่อนที่กลายเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกประเภทหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าได้ทุกที่ อีเบย์จึงสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมซื้อขายสินค้าผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ให้มีความสะดวกง่ายดายและคล่องตัวยิ่งขึ้น ด้วยแอพพลิเคชัน RedLaser เพื่อช่วยให้นักช็อปสามารถค้นหาสินค้าได้อย่างรวดเร็วผ่านระบบออนไลน์ ขณะเดียวกัน ยังช่วยให้ผู้ขายบนอีเบย์สามารถประกาศขายสินค้าได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย นอกจากนี้ อีเบย์ยังเตรียมนำโปรแกรมสแกนบาร์โค้ด RedLaser ผนวกกับแอพพลิเคชันอื่นๆ ของอีเบย์บนไอโฟน อาทิ แอพพลิเคชันอีเบย์ มาร์เก็ตเพลส (eBay Marketplace) อีเบย์ เซลลิ่ง (eBay Selling) สตับฮับ (StubHub) และช็อปปิ้งดอทคอม (Shopping.com) เพื่อทำให้ผู้ใช้กว่า 10 ล้านคนสามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังทำให้การขายและการเปรียบเทียบสินค้าเป็นไปอย่างสะดวกและง่ายดาย นอกจากนี้ แอพพลิเคชันอีเบย์ เซลลิ่ง ยังเป็นแอพพลิเคชันชนิดแรกบนไอโฟนที่ใช้เทคโนโลยีสแกนบาร์โค้ด RedLaser เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการขายสินค้าออนไลน์ โดยขณะนี้ อีเบย์อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนแอพพลิเคชัน RedLaser จากการเป็นโปรแกรมที่มีค่าใช้จ่ายเป็นโปรแกรมอิสระเปิดให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด ฟรี และเตรียมผนวกรวมโปรแกรมดังกล่าวกับสินค้าที่ประกาศขายบนอีเบย์กว่า 200 ล้านรายการ สินค้าคงคลังจากผู้ค้าทั่วโลกบน Shopping.com กว่า 7,000 ราย และนักขายปลีกออนไลน์ 95 ราย จากทำเนียบนักขายปลีกออนไลน์ดีเด่น 100 อันดับแรก เพื่อเพิ่มทางเลือกในการซื้อสินค้าแก่ผู้บริโภค มีการคาด การณ์ว่า การสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อรองรับการทำธุรกิจผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของอี เบย์จะก่อให้เกิดมูลค่าการซื้อขายสินค้ารวม (GMV) ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่รวม 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯภายในปีนี้ จากความนิยมของลูกค้าอีเบย์และผู้ใช้ไอโฟน แบล็กเบอร์รี่ และแอนดรอยด์ มากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก เปิดให้บริการใน 8 ภาษา จึงมียอดการซื้อขายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้แอพพลิเคชันของอีเบย์ทุก 2 วินาที โดยเทคโนโลยี RedLaser สามารถใช้ได้กับแอพพลิเคชันหลากหลายประเภท ได้แก่ ระบบแสดงรายการช้อปปิ้งสินค้าอุปโภคบริโภค ระบบลงทะเบียนของขวัญ และระบบติดตามข้อมูลทางโภชนาการ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดโปรแกรม RedLaser บนไอโฟนได้ฟรี ที่ itunes.apple.com/us/app/redlaser/id312720263?mt=8
ทั้งนี้ อีเบย์ยังประกาศความร่วมมือกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ผู้นำบริการลอจิสติกส์ครบวงจรในประเทศไทย สนับสนุนผู้ค้าขายผ่านตลาดออนไลน์ ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่างประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านระบบติดตามและตรวจสอบสิ่งของฝากส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนระหว่างประเทศ ของไปรษณีย์ไทย ทำให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะการส่งสินค้าออกนอกประเทศได้ภายใน 2-3 วัน ผ่านระบบ Track & Trace ของไปรษณีย์ ผ่าน www.thailandpost.com/track_register นอกจากนี้ นักขายมือทองอีเบย์ (PowerSellers) ในประเทศไทย ที่สามารถทำรายได้มกกว่า 3,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 97,200 บาทต่อเดือน จะได้รับส่วนลดและสิทธิพิเศษต่างๆ เมื่อเข้าร่วมโครงการ โดยผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ebay.com/sellerinformation/PowerSeller/requirements.html
นาง สาวอานุสรา จิตต์มิตรภาพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานตลาดและพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ปณท. มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับอีเบย์ในการเสนอโปรโมชันพิเศษแก่นัก ขายบนอีเบย์ และด้วยการปรับปรุงระบบติดตามและตรวจสอบสิ่งของฝากส่งทางไปรษณีย์ระหว่าง ประเทศลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ทำให้ผู้ค้าบนอีเบย์สามารถให้ข้อมูลสถานะสิ่งของฝากส่งทางไปรษณีย์แก่ผู้ ซื้อได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ การปรับปรุงระบบ Track & Trace สำหรับบริการไปรษณีย์ลงทะเบียนระหว่างประเทศในปัจจุบัน ถือเป็นก้าวแรกภายใต้ปณิธานของ ปณท. ที่มุ่งสนับสนุนระบบอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ บริการดังกล่าวจะสามารถพัฒนาให้สามารถติดตามและตรวจสอบแบบ End-to-End ได้เต็มรูปแบบ ด้านนางสาวอัลลิส กิม ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจของอีเบย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่น กล่าวว่า นักขายบนอีเบย์จำเป็นต้องแจ้งผู้ซื้อในต่างประเทศให้ทราบถึงสถานะการจัดส่ง สินค้าโดยเร็วที่สุดทันทีที่สินค้าได้รับการจัดส่งออก ที่ผ่านมา ถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักขายบางราย แต่ด้วยระบบการติดตามที่ปรับปรุงใหม่ เชื่อว่า จะสามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้ค้าบนอีเบย์เข้าถึงข้อมูลสถานะการส่งสินค้า อย่างรวดเร็ว ทั้งยังเป็นหลักฐานการส่งสินค้าและช่วยลดข้อพิพาทเกี่ยวกับสินค้าที่ยังไม่ ถึงผู้รับปลายทางอีกด้วย
ทั้งนี้ นักขายมือทองอีเบย์ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าว สามารถลงทะเบียนด้วยรหัสอีเบย์ (eBay ID) ได้ที่ export.ebay.co.th/thailandpost/index.html และพิมพ์บัตรส่วนลดภายในวันที่ 15 ก.ค.2553 เพื่อยื่นแสดง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ที่ร่วมรายการ ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. ถึง 15 ต.ค.2553

แหล่งที่มา http://www.mediafire.com/?2duohufybyt

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หอมกลิ่นกล้วยไม้



หอมกลิ่นกล้วยไม้(2) - ระพี สาคริก



September 10, 2009 by กล้วยไม้





ท่านระพี สาคริก มีสองไฟล์นะครับวันที่เอกสารถูกสร้าง:10/12/2008ที่มา:สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
เนื้อหาตามสารบัญ
- เพียงข้าวเมล็ดเดียว
- ดอกกล้วยไม้ในดวงใจ
- สอนลูกหลานด้วยชีวิต
- ความมั่นคงของชีวิต
- ความอดทนอยู่ที่ไหน
- ชีวิตกับกล้วยไม้ การศุกษาเพื่อสันติสุขของเพื่อนมนุษย์
- วิญญาณมนุษย์กับการพัฒนา
- คุณภาพของบัณฑิต
- นโยบายและปัญหาการศึกษา
- ผลกระทบต่อการพัฒนาการเกษตรของสังคมไทย
- แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา
- คุณสมบัติของคนเพื่อการพัฒนาไฟล์แนบ ขนาด 7.95 MB

แสดงที่มา. คุณต้องแสดงที่มาของงานดังกล่าว ตามรูปแบบที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้อนุญาตกำหนด (แต่ไม่ใช่ในลักษณะที่ว่า พวกเขาสนับสนุนคุณหรือสนับสนุนการที่คุณนำงานไปใช้)
ไม่ใช้เพื่อการค้า. คุณไม่อาจใช้งานนี้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า อนุญาตแบบเดียวกัน. หากคุณดัดแปลง เปลี่ยนรูป หรือต่อเติมงานนี้ คุณต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกันหรือแบบที่เหมือนกับสัญญาอนุญาตที่ใช้กับงานนี้เท่านั้นสำหรับการใช้ซ้ำหรือการแจกจ่ายใด ๆ คุณต้องระบุข้อตกลงของสัญญาอนุญาตนี้อย่างชัดเจน วิธีที่ดีที่สุดในการทำเช่นนั้นคือ การทำลิงก์กลับมาที่หน้าเว็บนี้เงื่อนไขใด ๆ ข้างต้น อาจยกเว้นได้ หากคุณได้รับอนุญาตจากผู้ถือครองลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตนี้ ไม่ลดทอนหรือจำกัดจริยสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์